fbpx

รู้วิทย์ให้เข้าใจ – ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ?

จากเหตุแผ่นดินไหวตุรกี (หรืออีกชื่อ ตุรเคีย) – ซีเรีย ครั้งใหญ่ ขนาด 7.8 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมานี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ฟิสิกส์ฟาร์มของแสดงความเสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นและขอร่วมไว้อาลัยแด่ผู้ล่วงลับด้วยครับ

น้องๆ อาจเกิดคำถามว่า ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ?

เพราะเราอาจไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเหตุที่เกิดกับประเทศนี้สักเท่าไร …​โดยเรามักได้ข่าวแผ่นดินไหวทางญี่ปุ่น จีน พูดง่ายๆ คือในเอเชียโซนตะวันออกใกล้บ้านเราเสียซะมากกว่า เพราะเราอาจไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเหตุที่เกิดกับประเทศนี้สักเท่าไร …​โดยเรามักได้ข่าวแผ่นดินไหวทางญี่ปุ่น จีน พูดง่ายๆ คือในเอเชียโซนตะวันออกใกล้บ้านเราเสียซะมากกว่า ซึ่งถ้านับขนาดใหญ่หน่อย (ขนาด 4 ขึ้นไป) ก็เจอไปถึง 332 ครั้ง แล้ว

แปลว่า ตุรกีเป็นประเทศที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว “บ่อยมาก”
และสาเหตุก็คือเพราะว่า  “ตุรกีตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวรอยต่อของภูเขาแอลป์-หิมาลัย (ระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย: Alpide belt)

แผ่นเปลือกโลกทั้งสี่ได้แก่…

แผ่นเปลือกโลกทั้งสี่ได้แก่ 1. แผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียน (Anatolian microplate) ซึ่งพื้นที่ตุรเคียเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ รอบๆ นั้นถูกล้อมไปด้วยเปลือกโลกแผ่นใหญ่อีกสองแผ่นคือ …
แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian tectonic plate) และ 3. แผ่นเปลือกโลกแอฟริกัน (African tectonic plate) นอกจากนี้ ทางตะวันออกของประเทศ ยังมี 4. แผ่นเปลือกโลกอาระเบียน (Arabian tectonic plate) ซึ่งดินแดนซีเรียก็อยู่บนแผ่นเปลือกโลกนี้
นั่นทำให้ตุรเคียตั้งอยู่บนบริเวณที่อ่อนไหวต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากๆ เพราะอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก (fault) เต็มๆ

เหตุการณ์ในครั้งนี้ จุดเกิดเหตุอยู่ที่รอยเลื่อนอนาโตเลียตะวันออก (East Anatolian Fault) ที่อยู่ระหว่างแผ่นโลกอนาโตเลียนกับแผ่นโลกอาระเบียน รอยเลื่อนนี้จัดเป็นรอยเลื่อนประเภทรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) แผ่นโลกอนาโตเลียนเคลื่อนทิศทวนเข็มนาฬิกา ในขณะที่แผ่นอาระเบียนก็ผลักในทิศสวนทาง แล้วก็ดันให้แผ่นอนาโตเลียนไปชนกับแผ่นยูเรเซียนอีกที !!! เรียกได้ว่า กระทบ-กระแทก-กระทั้น-สนั่นหวั่นไหวไปมา …จนเกิดการไหวสะเทือน กลายเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในครั้งนี้


สำหรับประเทศไทยเรา

แม้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็น “รอยเลื่อนซึ่งไม่มีพลังแล้ว” แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะที่ภาคเหนือในช่วงจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และแพร่
พี่หวังว่า การเรียนรู้จากเรื่องราว/ บทเรียนของประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจ และต่อยอดเป็นการเตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดวิกฤตกาลแผ่นดินไหวหรือธรณีพิบัติภัยประเภทต่างๆในอนาคตได้ ไม่มากก็น้อย

Leave a Comment