fbpx

PFAH

#ทายทักรักฟิสิกส์ ข้อสอบฟิสิกส์ A-level ปี 66 จะออกอะไรน้า…

อยากรู้มั้ยว่า การสอบฟิสิกส์ A-level สำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ TCAS ปี 2566 จะต้องเจอกับอะไรบ้าง? มาให้แม่หมอฟาร์มมี่ทำนายกันค่ะ

เริ่มเรียนทันที

Download เอกสารประกอบการเรียนของฟิสิกส์ฟาร์ม

#ทายทักรักฟิสิกส์ ข้อสอบฟิสิกส์ A-level ปี 66 จะออกอะไรน้า… Read More »

Review สมการฟิสิกส์ที่ออกสอบฟิสิกส์สามัญปี 64

📌การสอบเข้ามหาวิทยาลัยใกล้เข้ามาแล้ว โพสต์นี้ พี่รวม “สมการ” ที่เคยออกสอบฟิสิกส์สามัญ ปี 64 มาให้ เพื่อเป็นแนวทางกับน้องๆ ที่ต้องการ wrap up ความรู้ฟิสิกส์จากบทต่างๆ นะครับ

📌📌 ต้องบอกว่า สสวท. ออกทุกบทจริงๆ แม้แต่บทเล็กๆ จิ๋วๆ ที่เมื่อก่อน สทศ. ไม่ออก และข้อสอบมีการกระจายน้ำหนักเป็นอย่างดี ไม่กองที่บทใดบทหนึ่งแบบล้นๆ ต้องขอชมว่า สสวท.คือดีย์ !!

📌📌📌 ส่วนใครอยากให้พี่ช่วยติวฟิสิกส์สอบเข้าแบบสรุปเข้ม แนะนำ คอร์ส Refined Physics มีเนื้อหาฟิสิกส์เข้มข้นครบ 21 บท และ อัพเดทข้อสอบใหม่ๆ ให้ครบทุกปี ลองดูรายละเอียดก่อนได้เลย


✏️ ข้อสอบกลุ่มกลศาสตร์

  • บทนำ
  • การเคลื่อนที่แนวตรง -> ปัญหากราฟ
  • กฎนิวตัน การหาแรงลัพธ์
  • พลังงานศักย์
  • สมดุลกลต่อการหมุน
  • ระบบรอก
  • วงกลม
  • SHM การสั่นสปริง
  • โมเมนตัม
  • โพรเจคไทล์

✏️ ข้อสอบกลุ่มคลื่น

  • คลื่นกล คลื่น 2 ขบวนเคลื่อนที่มาซ้อนทับกัน
  • คลื่นกล การหักเห กฎของเสนล
  • เสียง
  • แสงเชิงคลื่น
  • แสงเชิงรังสี

✏️ ข้อสอบกลุ่มไฟฟ้า

  • ไฟฟ้ากระแสตรง
  • แม่เหล็กไฟฟ้า
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • ไฟฟ้ากระแสสลับ
  • ไฟฟ้ากระแสตรง การวิเคราะห์วงจร

✏️ ข้อสอบกลุ่มสสารและความร้อน

  • สมดุลความร้อน
  • แก๊ส พลังงานจลล์เฉลี่ย
  • ของแข็ง
  • ของไหล พลศาสตร์ของไหล
  • ของไหล แรงลอยตัว

✏️ ข้อสอบมอเดิร์นฟิสิกส์

  • ฟิสิกส์อนุภาค
  • ฟิสิกส์อะตอม
  • ฟิสิกส์นิวเคลียร์

✅ Download รีวิวสมการฟิสิกส์ที่เคยออกสอบฟิสิกส์สามัญ 64 ที่นี่

Review สมการฟิสิกส์ที่ออกสอบฟิสิกส์สามัญปี 64 Read More »

Download ชีทติวฟรี ม.4 เทอม 1 สอบปลายภาค เรื่อง “แรง มวล และการเคลื่อนที่ของนิวตัน”

สำหรับน้องๆ ที่ตามพี่ฟาร์มมาจาก Facebook / Youtube ให้น้องๆ download ชีทตรงนี้ได้เลยน้า เทอมนี้พี่ขออวยพรให้ได้เกรด 4 กันทุกคนค่ะ ใครเคยพลาดไม่ต้องเสียใจ เราทำคะแนนตีตื้นได้ !! สู้ๆ

Download ชีทติวฟรี ม.4 เทอม 1 สอบปลายภาค เรื่อง “แรง มวล และการเคลื่อนที่ของนิวตัน” Read More »

กำจัดจุดอ่อน ก่อนสอบฟิสิกส์ TCAS66

แอบเปิดโพยวิชาฟิสิกส์ทุกบทใน ม.ปลาย ที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากจนเกินไป

สำหรับน้องๆ ทีมเตรียมสอบ tcas66 ถ้าตอนนี้ใครเตรียมสอบเกือบครบทุกบทแล้ว จะต้องสังเกตเห็นภาพรวม และรู้ความลับจับจุดอ่อนของตัวเองได้เก่งแล้ว

การเรียนเพื่อเตรียมสอบที่ดี คือการเสริมจุดแข็ง ปิดจุดอ่อนของตนเองให้มากที่สุดในเวลาอันจำกัดของเรา โพสต์นี้พี่เลยอยากมารีวิว “จุดที่นักเรียนมักผิดพลาดบ่อย” หรือ common mistake ของนักเรียนส่วนใหญ่ให้ดูกัน

อ่านแล้วคิดตามซิ ว่าเรา… “ชิวๆ” กับจุดอ่อนพวกนี้แล้วหรือยัง ?

ถ้ายัง >>> มีหลายคอร์สฟิสิกส์สำหรับเตรียมสอบ TCAS ให้เลือก

ชื่อบท ความรู้สึกตอนเรียน ตอนสอบ/ จุดอ่อน
บทนำสั้น ง่าย เรียนแปบเดียวจบวิชาคณิตศาสตร์อ่อนแอ ทำให้แพ้ฟิสิกส์ไปด้วย
แนวตรงรู้จักปริมาณ อ่านกราฟเป็น เห็นเกรด 4สูตร suvat ที่ท่องง่าย ตกม้าตายเพราะแต่ใช้ไม่เป็น
นิวตันมีกฎแค่สามข้อคือ Three Miracles หากินได้เรื่อยๆ ด้วย ΣF=ma(ยกมือในห้องสอบ) ครูขา… ข้อนี้วาดรูปยังไงนะคะ?
สมดุลขึ้น = ลง / ซ้าย = ขวา / ทวน = ตาม แค่นี้เองตุยตั้งแต่เขียนแรงไม่ครบ/ วาด FBD ไม่ถูก
งาน/ พลังงานกฎอนุรักษ์พลังงาน Eต้น = Eปลาย ใช้งานออกสอบบ่อยดันดูไม่ออกว่าต้น-ปลายอยู่ตรงไหน แล้วนี่เกิดอะไรขึ้นบ้าง
โมเมนตัมกฎอนุรักษ์โมเมนตัม Pต้น=Pปลาย ทำนายผลการชนได้ชิวๆเผลอ บวก/ลบ โมเมนตัมโดยลืมคิดทิศทาง (เอ๊า! นางเป็นเวกเตอร์หรา)
โพรเจคไทล์แยกคิด แกนตั้ง/แกนนอน ด้วยความรู้จากบทแนวตรงก่อนหน้า ^ลืมไปว่ามีสองแกนให้คิดดด
วงกลมหาแรงเข้าสู่ศูนย์กลางให้เจอ แล้วจะตั้งสมการ FC ไปต่อจนจบได้เห? แรงไหนชี้เข้าหาศูนย์กลางกันแน่นะ
ซิมเปิลฮาร์มอนิคมีแค่การแกว่งตุ้ม กับการสั่นสปริงบางโรงเรียนซัดสมการในเทอมตรีโกณ บางโรงเรียนสอนด้วยเวกเตอร์…
คลื่นเรื่องราวดูเหมือนง่าย ตอนเรียนดูเข้าใจ ครูให้ดู amimation ก็เก็ทหมดเรียนเป็น amimation สอบเป็นภาพนิ่ง …ขยับจริงๆ คือไรอ่ะ
แสงคุ้นๆ ไปหมด เพราะขยายความรู้มาจาก ม.ต้น ในบทคลื่นและแสงลืมไปหมดแล้ว
เสียงเนื้อหาหลายส่วนทับซ้อนกับเรื่องคลื่น ทำให้เข้าใจง่าย ตอนทำ lab ปรากฎการณ์เฉพาะเสียงคือดีไปหมดเนื้อหาอีกหลายส่วนก็แปลกใหม่ แถมมีใช้ logarithm อีก / ส่วน lab เป็น lab ทิพย์อ่ะ
ไฟฟ้าสถิตถ้าเข้าใจบทนี้คือต่อยอดทั้งอาณาจักรไฟฟ้าได้ครบมันคือโลกนามธรรม จับต้องไม่ได้ ต้องใส่จินตนาการล้านแปด
ไฟฟ้ากระแสตรง(เกือบ) ทุกโจทย์วงจรไฟฟ้าใช้สูตร V=IR สมการเดียวเอาอยู่จำสูตรได้ แต่วิเคราะห์วงจรไฟฟ้าไม่เป็น (ขนาน-อนุกรมไหลลัดตัดตรงไหนอ่า)
แม่เหล็กแต่ละเรื่องมีสมการของตัวเอง จำเพาะเจาะจง เห็น setting อุปกรณ์ต้องตอบได้เลยมีหัวข้อเรื่องเยอะมากกกก ก.ไก่ล้านตัว เพื่อนครูด้วยกันยังบ่น (เยอะในความแยกย่อยอีกที)
ไฟฟ้ากระแสสลับหลักสูตรใหม่ใช้สอบ TCAS เขา ตัด RLC ไปจนแทบไม่เหลืออะไรให้เรียนแต่หลายโรงเรียนสอบเก็บคะแนนยังใช้หลักสูตรเก่า 55555
ของแข็ง/ ของไหลเรียนครบ 3 สถานะ ของแข็ง ของเหลว แก๊สเรียนสถานะไหนไม่ได้ใจเธออยู่ดี
แก๊ส/ ความร้อนเพราะเนื้อหาเสริมกับวิชาเคมี ใครเก่งบทนี้ เคมีก็ได้เกรด 4 ไปด้วยสูตรเยอะ แบบเยอะจริงๆ จะเยอะไปไหน แทบจะจำเป็นชีววิทยา
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะผ่านคลื่น + ไฟฟ้า + แม่เหล็ก มาแล้วเนื้อหาเยอะ อ่านแยะ ผิดวิสัยฟิสิกส์ อาจตาลายหน่อยๆ
ฟิสิกส์อะตอมสนุกกับเรื่องเล่าประวัติศาสตร์การค้นพบของมนุษยชาติ เรียนรู้การทดลองที่ทำให้เข้าใจองค์ประกอบพื้นฐานของสรรพสิ่งจะสนุกกว่านี้ถ้าแค่เล่าเฉยๆ แล้วไม่ต้องคิดเลขสมการอลังการจนจบบท
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาคได้แหวกเข้าไปดูสิ่งที่เล็กกว่าอะตอม > โปรตอน > นิวตรอน เหมือน Multiverse ที่มนุษย์พยายามรู้จักมันตารางอนุภาคมูลฐาน “บาน” ยิ่งกว่าตารางธาตุในเคมีนะครัช

หวังว่าจะพอเป็นไอเดียและเช็กลิสต์ให้กับน้องๆ ได้นะ 😛 หากใครประเมินว่าตุยแน่เลยย พี่ฟาร์มช่วยปิดจุดอ่อนให้ที !! ก็คลิกดูคอร์สด้านล่างของพี่ได้เลยจ้า

สำคัญที่สุด ขอเป็นกำลังใจในการเตรียมสอบของทุกคนนะ

<3 PFarmmie


กำจัดจุดอ่อน ก่อนสอบฟิสิกส์ TCAS66 Read More »

Preview วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย (ม.ต้นก็อ่านได้ แนะนำครับ)

หลังจากที่ไม่ค่อยได้ขีดเขียนอะไรมานาน วันนี้ ขอกลับมาขีดเขียนอีกครั้งในหัวข้อเบาๆ เป็นแนวทางให้กับนักเรียนและผู้ปกครองนะครับ ว่า “วิชาฟิสิกส์” นี่มันคืออะไร ครอบคลุมเรื่องอะไร และเราจะเรียนไปเพื่ออะไร…

“Welcome to Physics World”

(post นี้เขียนในปี พ.ศ. 2565 ไว้มาดูกันว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปซักแค่ไหน)

วิชาฟิสิกส์ เกิดขึ้นมาจาก “ความต้องการ” หาคำตอบให้กับคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้น จากการสังเกตเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ต่างๆ รอบตัวเรา

คำถามต่างๆเหล่านี้อาจใกล้ตัวเรามาก เช่น คำถามจากการสังเกตต้นมะม่วงหน้าบ้าน ทำไมมะม่วงสุกจึงตกลงสู่พื้น ไม่ลอยขึ้นฟ้า ไปจนถึงคำถามที่ไกลตัวออกไปมากๆ อย่างเช่น ดวงดาวในยามราตรีที่มีมากมาย มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น โลกแห่งวิชาฟิสิกส์ จึงเป็นโลกที่น่าสนุกสนานสำหรับคนที่ช่างสังเกต ช่างสงสัย ต้องการรู้ถึงคำตอบของปริศนาที่น่าท้าทายรอบตัว

ทีนี้ลองกลับไปดูชั้นเรียนวิชาฟิสิกส์ในห้องเรียนประเทศไทยกันนะครับ

(เอาแค่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกันเลยนะ)

เชื่อมั้ยครับว่า… เมื่อเข้าไปถามนักเรียนแต่ละคน กว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด ไม่ชอบ/ไม่อยาก/ไม่โปรด/ไม่เลิฟ/ไม่ไลค์ วิชาฟิสิกส์เอาเสียเลย

ทั้งๆ ที่ธรรมชาติของมนุษย์ เราต่างก็มีความเจ้าสงสัยอยู่ในตัวกันทั้งนั้น… แต่ทำไมน้อยคนนัก ที่จะกระตือรือล้นไปกับการเรียนวิชาฟิสิกส์ ??

เมื่อเราลองมาดูตัว “เนื้อหา” หรือ “รูปแบบการเรียนการสอน” ที่นักเรียนต้องเจอ — โดยนักเรียนหลายคนใช้คำว่าบังคับ/ยัดเยียด/จำใจ/และอีกหลายคำที่เป็นคำศัพท์ด้านลบทั้งนั้น — ก็เป็นหน้าที่ของผู้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนนะครับ ว่าจะทำอย่างไรให้นักเรียนรู้สึกดึที่ได้เรียนวิชาฟิสิกส์ ซึ่งถ้ามีโอกาสคุณครูพี่ฟาร์มมี่ก็คงจะวิพากษ์ให้ได้อ่านกันในวันหลังนะครับ

ตามหัวข้อคือ อยากจะแนะนำน้องๆ (โดยเฉพาะเด็กมัธยม) ให้รู้ว่าตลอดชีวิตการเป็นนักเรียน ม. ปลายนั้น เราต้องเจออะไรในวิชาฟิสิกส์ พยายามจะเขียนให้รู้สึกอยากเรียนนะครับ

ถ้าฟิสิกส์คือโลกหนึ่งใบ (ให้เธอคนเดียว…) โลกใบนี้ ก็คงประกอบด้วยห้าทวีปละกัน ได้แก่

  1. กลศาสตร์
  2. คลื่น
  3. ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
  4. สสารและความร้อน
  5. มอเดิร์นฟิสิกส์

ได้ยินชื่อกันแล้วก็อย่างเพิ่ง “เหวอ” นะ จริงๆพวกนี้มันไม่ได้มีอะไรน่าหนักใจเลย เป็นของ หรือเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้ตัวเราทั้งนั้น ลองมาดูกันนะ

1. กลศาสตร์ 🚴‍♀️ 🤹‍♂️

เป็นอาณาจักรแรก และใหญ่ที่สุด (ใช้เวลาเรียนครึ่งหนึ่งของชีวิตนักเรียน ม.ปลายกันเลย) กลศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ แรงและพลังงาน

เริ่มต้นเลย พอขึ้น ม. 4 น้องๆจะได้เรียน “การเคลื่อนที่ในแนวตรง” ลองคิดถึงการเดินทางโดยการขับรถ เอาเป็นจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ก็ได้ ถ้าเรารู้ “ระยะทาง” ที่ต้องขับและสามารถประมาณ “ความเร็ว” ที่เราจะขับได้ เราก็พอที่จะคำนวณหา “เวลา” ที่ต้องใช้ในการเดินทาง เพื่อจะได้นัดเจอกับเพื่อนๆที่เชียงใหม่ (แบบไม่ให้เพื่อนรอเก้อ)

บทต่อมา เราก็คงจะมีคำถามว่า เอ๊ะ แล้วอะไรทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ซึ่งคิดดีๆ ก็ตอบได้ไม่ยากเลย ว่าคือ “แรง” นั่นเอง บทที่สองเราจะได้เรียนรู้ว่า แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างไร รวมถึงทำนายได้ว่า ถ้ามีแรงเท่านี้มากระทำกับวัตถุ มันจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่มีความเร็วเป็นไปอย่างไร เราจะมีอำนาจที่จะ “ทำนาย” ได้อย่างแม่นยำ

เมื่อแรงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ได้ แรงก็ทำให้เกิด “การไม่เคลื่อนที่” ได้เหมือนกัน ถ้านำแรงมากระทำจนอยู่ใน “สภาพสมดุล” .. นอกจากจะสมดุลแบบไม่เคลื่อนที่แล้ว ยังจะได้เรียนสมดุลแบบที่ทำให้วัตถุ “ไม่หมุน” อีกด้วย ลองคิดถึงตอนเด็กๆ ที่เล่นม้ากระดก ปริมาณที่ทำให้น้องๆกระดกขึ้นที ลงที ก็คือโมเมนต์ ถ้าทำให้มันสมดุลแล้วละก็ คานที่น้องนั่งอยู่ ก็จะไม่กระดก จะบาลานซ์อยู่อย่างนั้นแหละ ลองดูได้

ถัดมาจะได้เรียนเรื่องของ “งานและพลังงาน” นี่เป็นสิ่งที่ค้ำจุนมนุษยชาติอยู่ก็ว่าได้ การผันพลังงานศักย์จากน้ำในเขื่อน มาปั่นกระแสไฟฟ้า การที่เครื่องยนต์สร้างพลังงานจลน์ให้มอเตอร์จนทำให้รถวิ่งได้ และอีกหลายอย่าง ต้องขอบคุณพลังงานเลยนะเน๊๊ยะ

เคยเห็นรถชนมั๊ย โครม โครม โครม ปริมาณที่คอยอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ ไปจนถึงการชน ก็คือ “โมเมนตัม” ความเร็วในการเข้าชน เวลาในการเข้าชน จะทำให้น้องๆ สามารถทำนายได้ว่า การชนในครั้งนั้น จะตายหรือจะรอด!

เคยเห็นการเคลื่อนที่แบบอื่นๆกันไหม นอกจากการเคลื่อนที่แนวตรง น้ำพุเด็กยืนฉี่? เป็นการเคลื่อนที่แบบ “โพรเจกไทล์” และการโคจรรอบโลกของดาวเทียม ก็เป็นตัวอย่างของ “การเคลื่อนที่แบบวงกลม” แล้วยังมีนาฬิกาติ๊กตอกโบราณที่ใช้ลูกตุ้มแกว่งไปแกว่งมา ก็เป็นตัวอย่าง “การเคลื่อนที่เป็นฮาร์มอนิกอย่างง่าย” น้องๆจะแยกแยะได้ว่าการเคลื่อนที่ที่เจอในชีวิตจริงเป็นแบบไหน

2. คลื่น 🏄‍♂️🎷📡

เนื้อหากลุ่มนี้ ใช้ความเข้าใจ มีการคำนวณง่ายๆ แค่คูณ หาร บวก ลบ ถ้าใครทำไม่ได้ เสียดายแย่ เวลาทำโจทย์ก็คล้ายๆกับฝึกปัญหาเชาวน์เลย

บทแรก จะสร้างพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ “ปรากฏการณ์คลื่น” อย่างคร่าวๆ ให้รู้จักว่าคลื่นคืออะไร รูปร่างเป็นอย่างไร เคลื่อนที่ยังไง มีสมบัติอะไรบ้าง (สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด) บทนี้ถ้าเทียบบัญญัติไตรยางค์เป็นก็ไม่ต้องใช้สูตรก็ได้

ถัดไป จะเป็นบทที่เนื้อหาเยอะมาก นั่นคือเรื่อง “แสง”​ เนื้อหาเยอะมากจนในหลักสูตรใหม่ เขาแบ่งบทนี้ออกเป็นสองบทย่อย นั่นคือ “แสงเชิงคลื่น” กับ “แสงเชิงรังสี” 

แสงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ มนุษย์เราก็มองเห็นได้เพราะมีแสง น้องๆ จะได้เรียนรู้กลไกการมองเห็น การเกิดภาพ การใช้งานทัศนอุปกรณ์ต่างๆ (พวกกระจกกับเลนส์) เนื้อหาหนักๆ น่าจะเป็นการศึกษาสมบัติของแสง (สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด อีกแล้วครับท่าน) เห็นมะว่าเนื้อหาค่อนข้างจะมีจุดซ้ำกันเยอะกับเรื่องคลื่น ตั้งใจเรียนเสียหน่อย ทำโจทย์ได้สบายเลย

บทส่งท้ายของอาณาจักรคลื่นก็คือเรื่อง “เสียง” เป็นอะไรที่เราเจออยู่ทุกวัน ก็น่าจะรู้เกี่ยวกับมันหน่อย ว่าเกิดจากอะไร ส่งผ่านยังไง มีสมบัติอะไรบ้าง (ก็สะท้อน หักเห เลี้ยวเบน แทรกสอด คุ้นๆ มะ ซ้ำกับข้างบนไง) ใครจะไปประกวดเดอะวอยซ์หรือกอตทาเลนต์ ก็ตั้งใจเรียนบทนี้ให้ดีนะ 555

3. ไฟฟ้า 🔋💡

ถ้าไม่มีศาสตร์ด้านนี้ เราคงไม่มีอุปกรณ์สร้างความสะดวกสบายต่างๆใช้งานกันแน่ๆ ไหนๆมันมีประโยชน์กับเราซะขนาดนี้ ไม่เรียนรู้เกี่ยวกับมันเสียหน่อย ก็คงไม่ดีมั๊ง

บทแรก จะสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้า คือบท  “ไฟฟ้าสถิต” เวลาเราเอาไม้บรรทัด ถูกับผมเรา แล้วพบว่ามันพอที่จะดูดกระดาษติดได้ นั่นแหละ ไฟฟ้าสถิต นอกจากนี้เราก็จะได้เรียนเกี่ยวกับแรงไฟฟ้า สนามไฟฟ้า ศักย์ไฟฟ้า และตัวเก็บประจุ อุปกรณ์ตัวนี้สำคัญกับเรามาก ไม่งั้นคงไม่มีคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลายให้ใช้กันในทุกวันนี้หรอก

หลังจากเรียนบทแรกไป ก็จะต่อด้วย “ไฟฟ้ากระแสตรง” ตอนม.3 คงพอจำได้ เราได้เรียนเกี่ยวกับกฎของโอห์ม มีการวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า (แบบเบาๆ) แต่พอม.ปลาย ก็คงต้องอัพเกรดความยากขึ้นหน่อย แต่ถ้ามีเทคนิคดีก็ผ่านไปได้ไม่ยาก แล้วก็จะได้เรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์วัดทางไฟฟ้า การคิดค่าไฟฟ้า สารพัดอีกมากมาย

จากนั้นจะไปแวะเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับ “แม่เหล็กและไฟฟ้า” ทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด น้องๆคงเคยใช้แม่เหล็ก มาดูดเหล็กหรือโลหะเล่นๆกันใช่ไหมครับ นี่แหละ เราจะได้เจาะลึกมากขึ้นเกี่ยวกับแม่เหล็ก จะรู้ว่าทำไมมันแสดงอำนาจไปดูดคนนั้นคนนี้ได้

มีแถมมานิดนึงคือน้องๆ จะได้เรียน “ไฟฟ้ากระแสสลับ” ด้วย อันนี้อาจดูยากหน่อย แต่ข่าวดีคือ หลักสูตรใหม่ตัดเนื้อหาบทนี้ออกซะเหี้ยนเลย แล้วเอาไปรวมอยู่เป็นเนื้อหาเรื่องเล็กๆ ในบทก่อนหน้า (บทแม่เหล็ก) เป็นไฟฟ้าที่ใช้ส่งไปมาจากโรงผลิตไฟฟ้าเข้าสู่บ้านเรือน ไฟฟ้าของจริงที่ใช้ในชีวิตประจำวันเยอะมาก ต้องรู้เกี่ยวกับมันซักหน่อยแล้ว ^^

4. สสารและความร้อน 🧨🛫

เนื้อหากลุ่มนี้ สูตรเยอะ เวลาเรียนต้องเน้นจำให้เป็นระบบ ไม่งั้นแย่แน่

บทแรก จะศึกษาเกี่ยวกับสมบัติเชิงกลของของแข็งและของไหล โดยเนื้อหาส่วนแรกจะพาไปศึกษา “ของแข็ง” ในแง่ของสภาพยืดหยุ่น เผื่ออีกหน่อยต้องเลือกวัสดุมาก่อสร้าง จะได้ดูออกว่าอันไหนอ่อนไป แข็งไป ยืดง่าย ยืดยาก ทนแรงรับแรงได้ไหวไหม

เนื้อหาส่วนถัดไปของบทนี้ จะเอา ของเหลว และ แก๊ส มารวมกัน เรียกว่า “ของไหล” เราจะศึกษาพฤติกรรมของของไหลในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความดัน แรงดัน เครื่องอัดไฮดรอลิก (ช่วยให้เรายกของที่หนักกว่าเราหลายสิบหลายพันเท่าได้ เออ ทำไมหว่าาาา) และเราจะตอบคำถามได้ว่า ทำไมเครื่องบินจึงบินขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ (สงสัยไหม)

ปิดท้ายด้วย “แก๊สและความร้อน” ที่ต้องเรียนความร้อนเพราะความร้อน เป็นสิ่งที่ทำให้วัถตุเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะได้ ความรู้ด้านความร้อนนี้เองที่นำไปพัฒนาต่อยอดเป็นเครื่องยนต์ เป็นตู้เย็น เป็นเครื่องจักรกลต่างๆ  เราจะได้เรียนการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ ว่ามันทำให้ร้อน ทำให้เย็น ได้ยังไงกัน

5. มอเดิร์นฟิสิกส์ ⚛️ 🧲

เป็นศาสตร์น้องใหม่ (จริงๆก็ตั้งเค้ามานานแล้ว แต่มามีพัฒนาการก้าวกระโดดไม่กี่สิบปีให้หลังนี้) จะมีเนื้อหาคาบเกี่ยวกับเคมีด้วย ตั้งใจเรียนดีๆ จะได้เคลียร์วิชาเคมีไปในตัว

บทแรกจะเรียนเกี่ยวกับ “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” จริงๆเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง (น่าจะถูกจับไปอยู่ในเรื่องคลื่น) แต่เนื่องจากต้องใช้สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กในการศึกษา จึงถูกนำมาให้น้องๆเรียน หลังจากเรียนไฟฟ้าครบแล้ว

บทถัดไปคือ “ฟิสิกส์อะตอม” ศึกษาเกี่ยวกับอะตอม (เอ๊ะ ก็ซ้ำกับบทโครงสร้างอะตอมในวิชาเคมีสิ) จะว่าซ้ำก็ซ้ำนะ แต่เราเรียนลึกกว่า และมีการคำนวณหาปริมาณต่างๆทางไฟฟ้าและแม่เหล็กประกอบกันไปด้วย รวมถึงเรียนเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ๆ ที่เพิ่งค้นพบไม่นานมานี้ จำไว้ว่า “ความเข้าใจในสิ่งเล็กน้อย (อะตอม) จะนำไปสู่ความเข้าใจในสิ่งที่ยิ่งใหญ่” 

พอแหวกดงอะตอมเข้ามาก็จะเจอกับใจกลางอะตอมที่เรียกว่า นิวเคลียส บทปิดท้ายของฟิสิกส์ ม.ปลาย เราจะเรียนเกี่ยวกับมันนี่แหละ วิชา “ฟิสิกส์นิวเคลียร์” ใครไม่สนใจก็ไม่อินเทรนด์แล้ว เพราะว่าแหล่งพลังงานบนโลกเรา เริ่มมีการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้กันหลายประเทศแล้ว เราจะได้เรียนว่าพลังงานนิวเคลียร์คืออะไร แล้วใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง อันตรายมากน้อยขนาดไหน 

แถมให้กับเรื่องสุดท้ายของท้ายสุด “ฟิสิกส์อนุภาค” เนื้อหาที่เพิ่งบรรจุลงหลักสูตรหมาดๆ (เมืองนอกเขาสอนกันมาหลายปีแล้ว ในที่สุดก็ถึงคิวประเทศไทย) เราจะเข้าไปศึกษาอนุภาคที่เป็นสิ่งพื้นฐานที่สุดที่ประกอบขึ้นมาเป็นอนุภาคต่างๆ อีกทีนึง เช่น พอเราแหวกนิวเคลียสดู เราจะพบกับโปรตอนและนิวตรอน แล้วถ้าแหวกโปรตอนกับนิวตรอนลงไปอีกล่ะ ! โอ้แม่เจ้า ยังมีอนุภาคที่เล็กลงไปกว่านั้นอีกเหรอ ?? .. ใช่.. นั่นเราจะเจอกับ ควาร์ก ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของอนุภาคมูลฐานของจักรวาลนี้ เจ๋งสุดๆ ไปเลยใช่มั๊ยล่ะ


นี่ก็เป็นน้ำจิ้มคร่าวๆ เหมือนเป็นแผนที่การเดินทางคร่าวๆ ที่บอกว่าตลอดสามปีเราจะเรียนอะไรบ้างในวิชาฟิสิกส์นะครับ อ่านๆไปก็อย่าเพิ่งตกใจนะ เรามีเวลาสามปี ที่จะค่อยๆเรียนเนื้อหาเหล่านี้ เทียบกับ เคมี ชีววิทยา ดาราศาสตร์ ธรณีวิทยา ที่ต้องเรียนแล้ว ของฟิสิกส์นี่จิ๊บๆที่สุดเลย

คราวหน้าพี่ฟาร์มจะบอกเคล็ดลับว่า เราจะเรียนทั้งหมดนี้ให้ “ได้เรื่อง” กันได้อย่างไร ต้องติดตามนะคร้าาาาบ ^_^

Preview วิชาฟิสิกส์ ม.ปลาย (ม.ต้นก็อ่านได้ แนะนำครับ) Read More »

ถ้าอยากเรียนให้ได้ผล จงตั้งเป้าหมายเอาชนะตนเอง

✏️อยากเรียนให้ได้ผล? ไม่อยากเป็นคน #หมดไฟ แนะนำทีม #Dek66 อ่าน
.
พี่มีเทคนิคหนึ่ง คือการตั้งคำถาม📌 แต่ ….. วิธีการตอบ “ต่าง” การตอบคลีเช่เดิมๆ มาดูตัวอย่าง
.
“สิ่งที่เรียนอยู่ตอนนี้ เรียนไปเพื่ออะไร และมีประโยชน์ยังไง?”
.
– เรียนไปเป็นหมอค่ะ การงานมั่นคง เงินดี ดูแลครอบครัวได้
– ก็เรียนไปเข้าวิศวะครับ มีองค์กรใหญ่รองรับอยู่
.
คำตอบไม่มีผิดถูก แต่ส่วนมากแล้ว ถ้าตอบแค่นี้ น้องจะวนลูปอยู่กับความพยายาม….
ที่ฮึดขึ้นมากี่ทีๆ ก็ “แรงน้อยมาก”
เพราะเป้าหมายของน้องมัน เล็กไปสักนิด
.
⚡️ ถ้าอยากเรียนให้ได้ผล
ขอน้อง จง #ตั้งเป้าหมายเอาชนะตนเอง
.
#เป้าหมายที่เอาชนะตนเอง หมายถึง เป้าหมายที่ “ตอบโจทย์” เรื่องที่ยิ่งใหญ่ เกินขอบเขตความสะดวกสบายหรือคุณภาพชีวิตของเราคนเดียว
.
ถ้าพูดให้สวยคือ ทำเพื่อโลก 🌎
ถ้าพูดให้จริงคือ อะไรก็ได้ ที่ชาเล้นจ์ตัวเองยิ่งๆ ขึ้นไปอีก
(ส่วนใหญ่สุดท้ายมันจะเป็นเรื่องการทำเพื่อผู้อื่นนะ)
.
#ลองนึกดูว่าหากคำตอบของเราเป็น
– เราอยากเปลี่ยนแปลงกรุงเทพอ่ะ.. อืม เราน่าจะต้องเก่งเรื่องผังเมืองให้มากๆ นะ งั้นเริ่มต้นด้วยสถาปัตย์เมืองดีกว่า เราต้องเข้าคณะสถาปัตย์ให้ได้!
– โรคเบาหวานเป็นโรคที่ทำลายคนไทยแบบเรื้อรังสุดๆ เราอยากเป็นคนหนึ่งที่ “บรรเทา” ทุกข์ภัยโรคนี้ ไม่แน่ใจว่าต้องยังไง แต่เข้าคณะทางแพทย์ไว้ก่อนดีกว่า
.
แค่คิดแบบนี้ #ระดับความมุ่งตั้งใจเราจะพีคขึ้นได้อีกจริงๆ💥
.
มีงานวิจัยที่ ม. Texus ใช้เวลาราว 50 นาที
ทำกิจกรรมกับนักเรียน ม.ปลาย ให้นักเรียนลองตั้งเป้าหมายที่ใหญ่กว่า “ตัว” ของตัวเองดู 🧑🏻‍🔬👩🏻‍🏭
.
เมื่อติดตามนักเรียนเหล่านี้ ก็พบว่า ในชีวิตนักเรียนเหมือนๆ กัน เด็กกลุ่มนี้ “สรรหา” เวลา และ “สมาธิ” มาโฟกัสที่การเรียนได้มากกว่าเพื่อนในห้อง
.
ทำไม? ⚡️⚡️ ก็เค้าสร้าง “ความหมายที่ยิ่งใหญ่” ให้กับ “การเรียนที่น่าเบื่อ” สำเร็จน่ะซี
.
การเรียนมันไม่ได้ “ว้าว” “มหัศจรรรรย์” รึ “สนุก” ตลอด
การเรียนมันน่าเบื่อ มันตรากตรำ
ต้องอึดมากกว่าจะ “ชนะ” ในสนามที่เราต้องการ
.
แต่ถ้าเราตั้งเป้าเอาชนะตัวเองได้
“พี่รับรอง”
พลังใจในการเรียนน้องมาเต็ม🌈
.
#ขอเติมกำลังในให้น้องๆในวันเรียลๆที่ทวนหนังสือแล้วเหน่ย
ด้วยรักส์จากพี่
ป.ล. ขอฝากคอร์สฟิสิกส์อารมณ์ดี
https://www.physicsfarm.org/
#dek66#dek67#dek68#tcas66#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

ถ้าอยากเรียนให้ได้ผล จงตั้งเป้าหมายเอาชนะตนเอง Read More »

สอนฟิสิกส์ การเคลื่อนที่ของ “นิวตัน” แผนใหม่ ที่ “ใช่” ที่สุด ณ พ.ศ. นี้

ตอนแรกพี่จะทำสรุปสั้นๆ แต่คิดไปคิดมา “เรียนทั้งที” เอาให้เข้าใจเลยดีกว่า 🙂

สอนฟิสิกส์ การเคลื่อนที่ของ “นิวตัน” แผนใหม่ ที่ “ใช่” ที่สุด ณ พ.ศ. นี้ Read More »

ตอบคำถามเด็กซิ่ว ฉบับที่ 2 หลักสูตรและข้อสอบที่เปลี่ยนไป

มีน้องถามมาใน Dm พี่ว่า… “หนูรู้สึกกลัวหลักสูตรที่เปลี่ยนใหม่ และแนวข้อสอบที่เปลี่ยนไป ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องซิ่วอีกปีเลย T_T ถ้าทวนแค่เนื้อหา Slayer 65 จะเพียงพอไหมคะ”

พี่: โอเค เรามาแยกเป็นประเด็นกัน อย่างแรก เรื่องหลักสูตรและแนวข้อสอบ

หลักสูตรไม่ได้ถูกเปลี่ยนใหม่นะครับ (x)

หลักสูตรนี้ถูกใช้มาตั้งแต่ปี 60 แล้วและยังไม่มีประกาศว่าจะเปลี่ยน พี่ขอยืนยันว่าเนื้อหาวิชาฟิสิกส์เพื่อสอบในรุ่น #DEK66 จะยังคงเดิมทุกประการ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีการเปลี่ยนแค่เจ้าภาพออกข้อสอบ ดังนั้น วิธีการตั้งคำถามและรูปแบบการออกข้อสอบจะถูกปรับให้ลุ่มลึกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าน้องจะตื่นตัวและกังวลนิดๆ ก็ดี เราจะได้มาฝึกให้เยอะๆ กันไปเลย <3

ดังนั้น หมายความว่า น้องสามารถใช้ความรู้จากคอร์ส Physics Slayer มาสอบเข้าปี 66 ได้แน่นอน 

อันที่จริง ต้องเรียกว่า “เกินพอ” เพราะคอร์สจัดวางหลักสูตรและเนื้อหาตามหลักสูตรปี 60 แถมยังเอาหลักสูตรเก่ามา “เติม” ให้ด้วย เนื่องจากโดยสถิติย้อนหลัง ข้อสอบแอบมาแจมเรื่อยๆ ดังนั้น มั่นใจได้ 

คำสำคัญคือ “การทวนเนื้อหา…” ​ตะหาก การทวนคืออะไร? ในปัจจุบัน ถ้านักเรียนคนไหนอยากเรียนกวดวิชา เพื่อเน้นจำ blocking ข้อสอบ พี่ขอคอนเฟิร์มว่าไม่เวิร์คแน่นอน 

การเรียนที่ถูกต้อง น้องต้องเรียนอย่างเข้าใจที่มาที่ไป (สไตล์ฟาร์มมี่) เรียนแล้วให้เราวิเคราะห์ปรากฎการณ์ ฝึกคิด critical thinking ได้ เราจึงจะสามารถรับมือข้อสอบใหม่ๆ ได้ ซึ่งในคอร์สของพี่ก็เสริมเรื่องพวกนี้ให้น้องแข็งแรงมั่กๆ

// แอบเม้า // เรามาลองคิดในแง่คนออกข้อสอบกันนะ…  เราก็ต้องอยากพลิกแพลงวิธีการถาม ให้ชาเล้นจ์ที่สุดเนาะ  และต้องถามให้ตรงโจทย์ คือยังอยู่ในขอบเขตหลักสูตรปี 60 (เดิม) * แต่ต้องทำด้วยหน้าตาใหม่ 

ดังน้ัน ก็มั่นใจได้เลยว่า หากมันจะออกมาเป็นข้อสอบที่ดี >>> ผู้ออกข้อสอบ ก็ต้อง ปรับ เปลี่ยน วิธีการออกข้อสอบ อยู่แล้ว (ไม่งั้นจะเข้าตำราดราม่าปี 65 ที่เอาข้อสอบเก่าสมัย Ent’ มาออกเป๊ะๆ แบบนี้ไม่โอเค ดูถูกเด็กเกินไป)

หน้าที่ของผู้เรียน เราทำได้อย่างเดียวคือ เราต้องรู้ให้จริง  เรียนทั้งทีเอาให้เกทและไปพลิกแพลงทำโจทย์ได้ครับ

ตอบคำถามเด็กซิ่ว ฉบับที่ 2 หลักสูตรและข้อสอบที่เปลี่ยนไป Read More »

ตอบคำถามเด็กซิ่ว ฉบับที่ 1 ความกังวลเป็นเหตุ

น้อง: ผมกังวลทุกครั้ง เวลาคิดถึงการซิ่ว ผมไม่แน่ใจว่าจะทำมันได้รึเปล่า หรือว่าตัวเองจะล้มเลิกก่อนจะถึงตรงนั้นมั้ย ไม่มั่นใจเลยครับ

#Dek65 จะซิ่วไป Tcas66

คำตอบของพี่: 

จากคำถาม พี่จับได้ว่า “ความกังวล” คืออุปสรรคสำคัญของการจะซิ่ว
ดังนั้นเรามาดูกัน ว่าความกังวลคืออะไร

ความกังวล (ภาษาอังกฤษเรียกว่า anxiety)  คือ สภาวะทางอารณ์ ที่บุคคลจะรู้สึกว่า หวั่นใจ หวาดกลัว อึดอัดไม่สบายใจ เพราะคิดว่าจะมีสิ่งร้ายหรือเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตน *เป็นการคิดไปล่วงหน้าทางลบ*

สิ่งที่แย่ที่สุดของความกังวลคือ มันจะ “ฉุด” ให้เรา — ไม่เคยได้เริ่มทำ

คล้ายๆ กับความกังวลคือ การคูณด้วยเลขศูนย์ (x0) หากเรามีเป้าหมายที่ต้องการอยู่ สมมติตีเป็นเลขสิบ (10) เจอการคูณศูนย์เข้าไป … ผลลัพธ์เหลือศูนย์ คือ …ไม่เกิดอะไรขึ้นเลย… เกทมั้ย

เมื่อเข้าใจแล้ว ก็อยากให้ลองตั้งมั่นกับตัวเองว่า จะดีแค่ไหน หากเรา “เลิกกังวลได้” นะ

คำเตือน (x) อย่าเข้าใจผิด ว่าเราต้องเลิกรู้สึกกังวล

เปล่าเลย ความกังวลเล็กน้อยมีประโยชน์ คอยเตือนเราว่าสิ่งที่เราทำมันยาก ให้เราคอยระมัดระวังและอยู่กับความจริง แต่เราต้องรู้ตัวด้วยว่า หากปล่อยให้ความกังวลมากไป  ประโยชน์ที่ได้กลับมา ก็จะน้อย

การซิ่วหรือการตั้งใจอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย เหมือนการเดินทาง การเดินรถ ดังนั้นตามหลักฟิสิกส์ เราต้องหาวิธี “ลดแรงเสียดทาน” เพื่อเพิ่มความเร็ว เพื่อให้ได้ไปต่อ

กับเรื่องความกังวลนี่ก็เหมือนกัน  ทุกคนสามารถ ลดแรงเสียดทานของกังวลได้ 

  • เริ่มจาก เลิกเกลี้ยกล่อมตัวเองด้วยความกังวล
  • เปิดจินตนาการว่า เราเองกำลังโน้มตัวไปข้างหน้า
  • ลองเริ่มอ่านหนังสือให้ได้สัก 10 นาทีหรือลองทำโจทย์แบบดูเฉลยไปด้วยก็ยังได้ สัก 2-3 ข้อ

สิ่งหนึ่งที่พี่เชื่อมั่นมากๆ คือ * เราจะได้ในสิ่งที่เราคิด *

หากเราคิดนำไปก่อนว่า เราจะไม่ไหวอะะะะ แบบนี้ ก็จะเป๋แต่เริ่มแล้ว ตรงข้าม หากเรามีกำลังใจ เราจะยังผลักไปข้างหน้าได้ “ไม่เร็วก็ช้า มันต้องถึง~!!” 

กังวลได้ แต่อย่าลืมแข็งใจลองสู้กับมัน แล้วโน้มตัวไปข้างหน้านะทุกคน

———

ส่วนที่ว่า “แล้วเราจะล้มเลิกง่ายๆ ไหม” ก็อยากแนะนำให้น้องๆ ลองหา WHY ของตัวเอง หรือเหตุผลที่เราจะต้องซิ่วให้สำเร็จ

ทำไมเราต้องซิ่วให้สำเร็จล่ะ?

เราอยากเข้าคณะนั้นๆ ทำไม อะไรรอเราอยู่ จะเกิดอะไรขึ้นหากเราทำได้บ้าง ลองใคร่ครวญดูนะครับ เป็นกำลังใจให้เสมอ

———

แล้วคอร์สไหนเหมาะกับเด็กซิ่ว?

  • ต้องการพื้นฐานใหม่ทั้งหมด เรียนรู้ที่มาที่ไป ค่อยๆ ปูทีละแบบฝึกหัด ลงคอร์ส Physics Slayer
  • ต้องการสรุปกระชับ จับคอนเซปท์ของแต่ละบท และตะลุยโจทย์ฟิสิกส์ตัวยากอย่างฟิสิกส์สามัญ ลงคอร์ส Refined

ปรึกษาเพิ่มเติมทักเพจนะ พี่แอดมินเค้าพร้อมให้คำแนะนำจ้ะ

ตอบคำถามเด็กซิ่ว ฉบับที่ 1 ความกังวลเป็นเหตุ Read More »

#แจกใบงาน สำหรับน้องๆ ที่ต้องการ “การลงมือทำ” เพื่อ “ไปสู่เป้าหมาย”

“การลงมือทำ” เพื่อ “ไปสู่เป้าหมาย” ดูจะเป็นเรื่องยาก… เมื่อเป้าหมายนั้นไม่ได้ถูกแสดงออกมาให้เราเห็นแบบชัดๆ 👀

ดังนั้น~! วิธีการต่อไปนี้ เป็นเทคนิคในรูปแบบง่ายๆ ที่จะนำเราไปสู่เป้าหมายระยะกลาง หรือระยะยาวได้ ไม่ว่าจะหลายสัปดาห์ หรือหลายปี

  • 👉ขั้นที่ 1 จินตนาการถึงสิ่งที่ต้องการ เมื่อเราทำงานหนักแล้ว ให้จินตนาการว่าจะมีเรื่องดีๆ แบบไหนเกิดขึ้นกับเราบ้าง ให้เขียนสิ่งนั้นลงไป
  • 👉ขั้นที่ 2 เขียนตัวเลือกในแง่บวก ให้เลือกข้อดีในข้อแรกมาหนึ่งอย่าง ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับเรา นึกถึงมันอยู่ในใจ แล้วเลือกอันที่ทำให้รู้สึกดีมากที่สุด
  • 👉ขั้นที่ 3 เขียนอุปสรรคขัดขวาง จินตนาการถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างที่กำลังทำตามเป้าหมายอยู่
  • 👉ขั้นที่ 4 เขียนตัวเลือกในแง่ลบ ในบรรดาปัญหาที่เขียนไว้ ให้เลือกอันที่เลวร้ายที่สุดสำหรับตัวเรามา ให้นึกภาพอยู่ในใจ แล้วเลือกอันที่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง
  • 👉ขั้นที่ 5 ลงมือทำตามคำถาม ต่อไปให้เขียนที่ต้องทำทั้งหมดในรูปแบบคำถาม ว่า [ชื่อเรา] จะทำ [สิ่งที่ต้องทำ] ใน [เวลา] ที่ [สถานที่] หรือไม่ ?

สุดท้าย แสดงคำถามนั้นไว้ในจุดที่เราเห็นมันได้อย่างชัดเจนเท่านี้ก็ถือว่าเสร็จเรียบร้อย

📌📌 เมื่อเราใช้ใบงานแล้ว เราจะได้รับรู้ ถึงความตั้งใจแรกของเรา และกลายเป็นแรงที่ทำให้เราอยากทำมากขึ้น

🧡 เทคนิคนี้อาจจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จ แต่น้องๆ อย่าลืมว่า ตัวเรานั้น ยังต้องฝึกฝน #การควบคุมตนเอง เพื่อที่เราจะสามารถควบคุมความสำเร็จในอนาคตของเราได้นั่นเอง

“อยากเห็นน้องๆ ใช้ Roadmap มุ่งสู่เป้าหมายตั้งแต่วันนี้”

ตัวอย่างของพี่ 😛

#แจกใบงาน สำหรับน้องๆ ที่ต้องการ “การลงมือทำ” เพื่อ “ไปสู่เป้าหมาย” Read More »