fbpx

PFAH

#ALevel ฟิสิกส์ Dek66 บทไหนทำบทไหนทิ้ง?

#ALevel#ฟิสิกส์#Dek66 บทไหนทำบทไหนทิ้ง? ⏰ ทำยังไงดี..อ่านไม่ทันแล้ว หนูอยากเทบางบท ผมอยากทิ้งบางส่วน ก็มันไม่ทันจริงๆ อ่ะครับ/ค่ะ

.

อยากบอกว่าพี่ “โคตรเข้าใจ” น้องเลย

เพราะตะก่อนตอนสอบ

ชั้นก็เป็นโรคอ่านไม่ทันซินโดรมเหมือนพวกน้องๆ กันนี่แหละ

.

ก็เลยอยากจะพามาวิเคราะห์ข้อสอบย้อนหลังกันหน่อย

จากข้อสอบ #ฟิสิกส์สามัญ ตั้งแต่ปี 63 เป็นต้นมา

ที่สสวท. เป็นเจ้าภาพในการออกข้อสอบอย่างเต็มตัว

เราพบว่า “ไม่มีบทไหนไม่ออกสอบเลย”

นั่นเพราะเขาเป็นคนเขียนหลักสูตร

แล้วจะออกข้อสอบให้ไม่ตรงหลักสูตรหรือไม่ครอบคลุมในหลักสูตรที่ตัวเองเขียน คงโดนคนติฉินนินทากันไปแปดเดือนสิบเดือน

ดังนั้นข้อสอบ สสวท จึงต่างกับผลงานเก่าของ สทศ. อย่างลิบลับ

.

ไม่มีข้อสอบที่ “เกินหลักสูตร”

ไม่มีบทไหนที่ “ไม่ออกสอบ”

✅
✅
✅

.

ดังนั้นจะมาเก็งว่าไม่ต้องอ่านบทนั้นบทนี้ ตอบเลยว่ามันทำไม่ได้

ในอุดมคติแล้วเขาต้องการให้เราทำได้ “ทุกบท” นั่นเอง

.

แล้วจะทำไงอ่ะค่ะ ก็มันอ่านไม่ทันอ่ะ พี่ไม่แก้ปัญหาให้หนูเลย

.

ใจเย็นๆ กันนะคะซิสแอนด์โบร พี่ไม่ได้บอกให้หนูอ่านทุกบท

พี่แค่บอกว่า ถ้าทำได้ควรจะผ่านมันมาทุกบท

แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เราไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าให้ทำได้ทุกข้อก็ได้นี่นา

เราเลือกได้ ว่าเราอยากได้คะแนนประมาณนี้ เราถนัดมากในบทนี้ เราไม่ค่อยถนัดเลยในบทนั้น

.

พี่เลยบอกว่า ถ้าจะต้องเท คนที่เลือกบทที่จะเท คือน้องเองค่ะ

เลือกเลยว่าเราไม่ถนัดบทไหน ก็เทบทนั้น ให้อยู่ในเปอร์เซ็นต์ที่ไม่มากไปนะ

.

เช่น สมมติ ฟิสิกส์มี 20 บท เราไม่ค่อยไหวเลย 4 บท เราก็เกาะ 16 บทไว้ให้แม่นๆ ยังไงถ้าในบทที่เราทำได้ เราได้คะแนนจากมันจริงๆ (ต้องได้จริงๆ นะ) ในภาพรวมก็คือ ทั้งวิชา เราจะมีคะแนนถึงตามเป้านั่นเอง

.

⚠️ แต่เรื่องนี้ต้องระวัง ไม่ใช่พอบอกเลือกเทตามพระทัยแล้วจะเททีละ 10 บท

แกร๊ มันไม่ได้ เพราะเรากำลังจะเทไป 50% ของทั้งหมด

โอกาสที่เราจะทำถูกทุกข้อในข้อที่ทำได้แล้วได้คะแนน 50/100 มันก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ขนาดนั้นใช่มะ

.

#สรุปก็คือ โดยอุดมคติแล้ว บทไหนก็ออก เทไม่ได้ทั้งนั้น

แต่ถ้าไม่ทันแล้วต้องเท ให้เลือกบทที่ไม่ถนัดที่สุดสักกลุ่มหนึ่งพอ (อย่าเยอะ)

เทบทเสียคะแนนเหล่านี้ แล้วเอาเวลาไปทุ่มให้กับบทที่เราทำแต้มได้แบบชัวร์ๆ มากขึ้น

ก็เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่พี่แนะนำนะ ลองเอาไปคิดกันดู เลือกกันดู ทำกันดู

.

.

#tcas66#dek66#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

#ALevel ฟิสิกส์ Dek66 บทไหนทำบทไหนทิ้ง? Read More »

แล้วต้องทำคะแนนฟิสิกส์อีกเท่าไหร่? (ใน A-Level)

#อ่านไปไม่มีหลง (ตอนที่ 2/2) แล้วเรา #ต้องทำฟิสิกส์เพิ่มอีกกี่คะแนน ถึงจะ “สอบติด” ตามเป้าหมายที่ต้องการ✨🎉

ก็อยากให้น้องๆ ไปดูสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของคะแนนที่เราต้องใช้ก่อน เช่นเราสอบได้ TGAT = 60 ; TPAT3 = 70

👉🏻 สมมติสัดส่วนคะแนนมันใช้

– TGAT 20%

TPAT3 30%

– อีก 50% มาจาก A-LEVEL โดยแบ่งเป็น ฟิสิกส์ 20% เลข 20% และเคมี 10%

.

นั่นหมายความว่า “ครึ่งแรก” เราจะมีคะแนนในมือ

= 20%*(60) + 30*(70)

= 33 คะแนนรวม (จาก 100)

.

ดังนั้นถ้าเป้าหมายเรา อยากให้ได้คะแนนรวมทั้งหมดที่ 65 ✨

เราก็ต้องการอีก 65-33 = 32 คะแนนรวม

.

ไม่งงนะ😬

.

ซึ่งจากสถิติการทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง ตอนทำข้อสอบเก่า (แบบจับเวลา) เรามักจะได้คะแนนประมาณนี้..

👉🏻 ฟิสิกส์ 60 เลข 50 เคมี 60 👈🏻

.

นั่นหมายความว่าฝีมือเรา ณ ปัจจุบัน น่าจะได้คะแนนที่ประมาณ 20%*(60) + 20%*(50) + 10%*(60) = 28

ตีความได้ง่ายๆ เลยว่า “มันไม่พอ”

ต้องการ 32 มีอยู่ 28

ต้องอัพขึ้นไปอีก 4 แต้ม

📌
📌
📌
📌

.

ทีนี้ ก็มาดูต่อว่าเราถนัดอะไร

อย่างฟิสิกส์ พอจะอัพตัวเองไปที่ 70 ได้ไหม

เลขสัก 60 ละกัน

ส่วนเคมีไม่ไหวละ 60 เท่าเดิม

.

แบบนี้จะได้ 32 แต้มพอดี

(เนี๊ยะแล้วก็ใส่ค่าเผื่อไปอีกหน่อยให้มันเซฟๆ)

.

🧡 จะเห็นว่าสิ่งที่ต้องทำคือการมองไปข้างหน้าจริงๆ แหละ ลองไปคิดดูว่าเราควรทำคะแนนในรายวิชาที่ยังเหลือสอบอยู่ไปที่เท่าไร

.

สิ่งที่เราทำอยู่เค้าเรียกว่า ​gap analysis ครับ ดูว่าเราอยู่ที่จุดไหน ดูว่าเป้าที่เราจะไปอยู่จุดไหน แล้วจะเห็นช่วงห่างที่เราต้องปิดช่องโหว่ตรงนี้ให้ได้ ซึ่ง #โค้งสุดท้ายแบบนี้ ก็หนีไม่พ้นการทำโจทย์ครับ ฝึกมันเข้าไปนะวัยรุ่น

.

พี่ฟาร์มหวังว่ามุมมองเหล่านี้จะช่วยให้น้องมองไปข้างหน้า หาสิ่งที่เราทำได้แล้วเกิดประโยชน์สูงสุดต่อช่วงเวลาที่แสนจำกัดนี้กันเถอะ

.

รู้ว่าเครียด รู้ว่ากดดัน แต่มากันขนาดนี้แล้ว อีกสองเดือนอ่ะ… สู้เขาสิวะอิหญิง สู้เขาสิผู้บ่าวทั้งหลาย ✨✨

.

พี่ส่งกำลังใจให้นะครับ

พี่ฟาร์ม ;3

.

#dek66#tcas66#ฟิสิกส์alevel#การสอบtcas

แล้วต้องทำคะแนนฟิสิกส์อีกเท่าไหร่? (ใน A-Level) Read More »

เราอยู่ตรงไหนในบรรดาคนสอบ TPAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์

🔥#อ่านไปไม่มีหลง (ตอนที่ 1/2) สำหรับทุกคนที่สอบ TPAT3 ลองมาเทียบคะแนนตัวเอง เพื่อดูตำแหน่งการแข่งขันโดยประมาณของตัวเองกันนะคะ

🚨 บทความนี้ มีด้วยกัน 2 ตอน ตอนแรกจะช่วยสร้างมุมมองว่า จากคะแนนสอบที่เรามี เราอยู่จุดไหนของการแข่งขัน ส่วนตอนที่สอง (มาพรุ่งนี้) จะบอกน้องว่า เราจะต้องตั้งเข็มทิศการเดินทางยังไง เพื่อพาตัวเองไปสู่เป้าหมาย พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยค่ะ

.

จากผลคะแนน TPAT3 ที่ออกมาแล้ว ~!! รู้สึกยังไงกันบ้างคะ โอเคกันป่าวน้า 😊

.

ไม่ว่าเราจะได้คะแนนเท่าไหร่นะคะ คำถามสำคัญที่เราควรจะถามตัวเองต่อมาก็คือ คะแนนที่เรามีอยู่ในมือ มัน “โอเคไหม” ~!!

🔥 แล้วเราจะตัดสินยังไงกันดี

.

พี่ฟาร์มชวนน้องๆ มาลองดูหนึ่งในมุมมองที่น่าสนใจ …นั่นคือ ถ้าเรามองว่าคะแนนสอบครั้งนี้มีการแจกแจงแบบปกติ (งานสถิติเข้าแล้วหนึ่งงงง)

.

เราจะพบว่าคนส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ที่ประมาณ 46 คะแนน (ดูจากค่าเฉลี่ย) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 11.8

.

สมมติว่าถ้าเรามีคู่แข่ง 100 คนในการสอบเข้า วิชาสถิติสอนเราว่า

– ถ้าเราได้คะแนนที่ค่าเฉลี่ย (46 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่ง 50 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 0.5SD (52 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 69 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 1.0SD (58 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 84 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 1.5SD (63.5 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 93 คน

– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 2.0SD (69 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 98 คน

.

👉🏻 จะเห็นว่าคะแนนที่ต่างกันเพียงไม่กี่แต้ม กลับทำให้ตำแหน่งทางการแข่งขันขยับห่างกันออกไปได้ไกลพอสมควรเลย

.

ดังนั้นลองดูว่าคะแนนของเรานั้นอยู่ที่ช่วงไหนนะคะ มุมมองแบบนี้น่าจะมีประโยชน์กว่าการตีความว่ามากน้อย เพราะเราก็พูดยากว่าอะไรคือมากหรือน้อยเนอะ

.

พอรู้แล้ว ทีนี้ยังไงต่อกันล่ะ?

พี่แนะนำให้น้อง “มองไปข้างหน้าครับ”

.

คะแนนสอบที่ออกมาแล้ว เราทำอะไรแทบไม่ได้แล้วครับ แต่สิ่งที่ยังไม่ได้สอบ ก็คือฟิสิกส์ A-LEVEL

อันนี้เรายังวาดลวดลายให้กับมันได้เต็มที่

โดยบริหารเวลาที่เหลือให้ดี

“เลือก” และ “ทำ” เฉพาะสิ่งจำเป็นให้กับตัวเอง

.

แล้วน้องจะต้องทำคะแนนสอบฟิสิกส์อีกเท่าไหร่ มาติดตามกันตอนหน้านะคะ พี่มีคำตอบ✨

ด้วยรัก

จากพี่ฟาร์ม

——————

#dek66#tcas66#tpat3#ความถนัดทางวิศวกรรม

เราอยู่ตรงไหนในบรรดาคนสอบ TPAT3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ Read More »

ทักทายจากน้ำพุร้อนสันกำแพง

ใต้เปลือกโลกนั้นมีความร้อนสะสมอยู่ ซึ่งแถมมาด้วยก็คือความดันที่อัดแน่น เมื่อแหล่งน้ำใต้ดินผ่านไปยังบริเวณที่อัดแน่นทั้งความดันและอุณหภูมิสูงแบบนี้ .. มันก็เลย..ตู้มมมม กลายเป็นโกโก้ครันช์ ผิด! กลายเป็น “น้ำพุร้อน” 🤣🤣 ซึ่งก็มีหลายประเภทแบ่งย่อยมา ทั้งฮอทสปริง เกเซอร์ บ่อไอเดือด บ่อโคลนเดือน .. และที่พี่ฟาร์มไปเที่ยวก็คือ น้ำพุร้อนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นน้ำพุร้อนประเภทฮอทสปริงครับ .. มันฟินมากเลยนะ อากาศอุณหภูมิ 17 องศา น้ำพุอุ่นๆ ก็พ่นออกมา พอไอร้อนกระทบอากาศเย็น ก็ควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ หยดแปะๆ ลงมา สนุกสนาน อิอิ

ทักทายจากน้ำพุร้อนสันกำแพง Read More »

5 ขั้นตอนตะลุยข้อสอบฟิสิกส์ย้อนหลังให้เวิร์ค

📌📌#ติวฟิสิกส์ยังไง ให้ทำข้อสอบได้~!! ท่องเลย “อ่าน-วง-ดอก-มาแก้-เพี้ยน” #dek66#dek67#dek68 เทคนิคนี้ต้องรู้

.

1. “อ่าน” เอาเรื่องจนเก็ทสิ่งที่โจทย์ถาม : ถ้าอ่านโจทย์แล้วไม่เก็ทแม้แต่นิดเดียว ยกมือถามอาจารย์คุมสอบเลยว่า “จารย์คะแจกข้อสอบหนูผิดบทหรือเปล่า—“

.

2. “วง” ตัวแปรต่างๆ ให้ครบ : เมื่อเรากวาดสายตาไปแล้ว ให้วงตัวแปรที่รู้จัก เพื่อเราจะได้ปะติดปะต่อเรื่องราวให้ครบถ้วน

.

3. “ดอก” (จัน) 🌟 ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร : วาดดอกจันท์เล็กๆ ที่ความสัมพันธ์ของตัวแปร เติมสูตรเข้าไปบนกระดาษทดก็ได้ กันลืม

.

4. “มาแก้” โจทย์กันด้วยคณิตศาสตร์ : ได้องค์ประกอบครบแล้ว ห้ามจบตรงนี้ คิดเลขต่อไปเลยจ้า เอาให้ถึงคำตอบ ระวังหน่วยด้วยนะ

.

5. “เพี้ยน” มั้ยคำตอบ? ลองตรวจคำตอบดูซิ : ได้คำตอบก็จริงแต่เอ๊ะ ? ตรรกะมันผิดจากสิ่งที่เรียนมาหรือเปล่า เช่น หาเวลา แต่คิดออกมาได้ติดลบ แปลว่าอะไรหว่า คิดเลขใหม่เดี๋ยวนี้ !!

.

ทำโจทย์บ่อยๆ ทั้ง 5 ขั้นตอนนี้จะซึมม เข้าไปใน DNA ของเรา

เหมือนปั่นจักรยานคล่องๆ เลยแหล่ะ

.

🔥ปลายธันวาแล้ว รีบทำข้อสอบสามัญย้อนหลังให้ครบกัน

คอร์ส Refined Physics ฟิสิกส์ A-level

คอร์สเดียวเอาอยู่

.

.

#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm#ฟิสิกส์

5 ขั้นตอนตะลุยข้อสอบฟิสิกส์ย้อนหลังให้เวิร์ค Read More »

อีก 100 วันสอบฟิสิกส์ ทำอะไรดี?

⏰ “แกรรรนับวันผิดเปล่าาา 5555 🤣” — ไม่ผิดๆ อีกแค่ 100 วันจะสอบฟิสิกส์ A-level แล้วคร้าบบบบบ #ใต้เลขห้าคือน้ำตาซ่อนอยู่
.
🔥ใครเพิ่งเริ่มจริงจังตอนนี้ ไม่ต้องตกใจ พี่ขอป้ายยาแรง #RefinedPhysics จัดไปคอร์สเดียว ในเวลา 100 วัน เรายังตามทันถ้า “เริ่มทันที”
1. กำหนดเป้าหมายของตัวเองตามคณะที่ต้องการ
2. สมัครคอร์ส Refined Physics รอหนังสือแค่ 2 วัน
3. เริ่มเรียนจากบทที่ถนัดที่สุดก่อน เรียนสรุปแล้วตะลุยโจทย์เอาเทคนิคเลย
4. ค่อยๆ เก็บบทที่เหลือ ใช้ทุกวินาทีให้คุ้มค่า
5. เข้ากลุ่มมาถามปัญหาทางวิชาการของคอร์ส + ติดตามอัพเดท
.
✅รายละเอียดและสมัครเรียน
https://www.physicsfarm.org/product/refined-physics/
✅ค่าเรียน 5,300 บาท (จาก 6,300 บาท)
#สอบปีนี้ติดปีนี้ สมัครด่วนๆ เลยทุกคนน
.
ปรึกษาการสมัครเรียนหรือติดต่อชำระบัตรเครดิต
ทักไลน์ https://lin.ee/w3cWEmp
สู้ๆ นะอยากเห็นทุกคนสอบติดดด
.
#physicsfarm#ฟิสิกส์ฟาร์ม#dek66#tcas66#เรียนพิเศษ#กวดวิชา#ฟิสิกส์

อีก 100 วันสอบฟิสิกส์ ทำอะไรดี? Read More »

5 เทคนิคเคลียร์การบ้านให้เสร็จทันส่ง

#ใครไม่ลงมือทำตามนี้❌ จะพลาดเกรดสี่ไปแบบน่าเสียดาย
👉 A must ที่นักเรียน ม.ปลาย จำเป็นต้องทำในช่วงใกล้สอบ
.
1.) สร้าง To Do List แล้วลงมือทำทันที
หยุดคิดวนเรื่องงานที่ท่วมท้น เพราะการคิดสิ่งที่ต้องทำทั้งหมดในหัวจะทำให้สมองคิดหนัก ดังนั้น ให้เขียนสิ่งที่เราต้องทำออกมาทั้งหมด แบบนี้เราจะโฟกัสและใช้สมองได้เต็มที่

💯 ที่สำคัญคือ ต้องทำงาน “ตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย” โดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง งานด่วนงานร้อนสุดๆ ต้องทำก่อน และวิชาที่ไม่เร่งมาก ก็ทยอยทำสลับกันไปเรื่อยๆ
.
2.) จัดเตรียมสถานที่ให้ง่ายต่อการทำการบ้านมากที่สุด
.
ถ้าสถานที่อ่านหนังสือของเราอยู่ในสภาพไม่เรียบร้อย สมาธิของเราก็จะกระจัดกระจายตามไปด้วย นำอุปกรณ์มาวางให้หยิบจับง่ายขึ้น อยู่ในที่สงบ เลือกเวลาที่เรามีสมาธิที่สุด เพื่อจะได้ทำรวดเดียวไม่มีสะดุด
.
3.) พาตัวเองไปสู่โหมดจดจ่อ
.
⚠️ ปิดแจ้งเตือนคอมพิวเตอร์และมือถือ ⚠️ และจดจ่อกับงานตรงหน้า อย่างน้อย 25-90 นาที และจากนั้นเข้าสู่โหมดผ่อนคลาย
.
4.) พักผ่อนสมองด้วยยยย
.
เราต้องสลับโหมดความคิดหลังทำงาน ❗️จากโหมดจดจ่อ มาเป็นโหมดผ่อนคลาย ⭕️ เพื่อเราจะทำงานได้ยาวนานขึ้น
.
ในตอนผ่อนคลาย เราต้องเลิกคิดเรื่องงานนะ (ห้ามโกง) และไม่กังวลถึงมัน อาจจะลุกขึ้น เดินยืดเหยียด หรือ ฟังเพลงก็ได้ ทำอย่างนี้ประมาณ 10-20 นาที
.
5.) ทำการบ้านไม่ได้ ต้องรีบหาตัวช่วยนะ
.
นอกจากถามเพื่อนแล้ว น้องลองถามคุณครูที่อาจจะตอบข้อสงสัยในการทำการบ้านกับเราได้นะ 👉 ยิ่งถ้าเป็นฟิสิกส์ แวะเวียนมาเม้ามอยกับพี่ได้เลย
.
“อย่าพลาดเกรดสี่ที่โรงเรียนเพราะไม่ได้ส่งการบ้าน”
มันเป็นเรื่องพื้นฐานที่… น้องเองก็ได้คะแนนเต็มได้ !!
.
สู้ๆ กับการเรียนครัชช
โดยเฉพาะฟิสิกส์ ขอเป็นกำลังใจให้ 🧡💛🖤🤍
https://www.physicsfarm.org/
.
#dek66#dek67#dek68#tcas66#tcas67#tcas68#เรียนพิเศษ#กวดวิชา#เรียนฟิสิกส์#ฟิสิกส์มอปลาย#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

5 เทคนิคเคลียร์การบ้านให้เสร็จทันส่ง Read More »

Let’s do the Right now plan :)

ไม่มีหรอก Perfect plan มีแต่ Right now plan

.

เหลือเชื่อ ~!! นี่มันธันวาคมล้าววว พี่ขอกรี้ดยาวๆ ส่งท้ายปี ให้กับภาระงานที่ถล่มทลายอยู่ในขณะนี้ (น้องบอก – หนูก็การบ้านโครงงานเพียบเลยข่า)

.

หัวอกเดียวกัน #Dek66 ยิ่งต้องเตรียมสอบ

ล้ากันไหมพวกเธอ?

/ แปะมือ ตบบ่า /

.

ช่วงนี้ พี่เองกำลังเคลียร์คำถามวิชาการล้านแปดที่น้องๆ ส่งกันมาในไลน์ เคลียร์ไปฮึดไป เพราะมันแปลว่า #น้องกำลังล็อกอินเข้ามาเรียน🚩😎 น้องกำลังได้ก้าวไปข้างหน้า

.

ยังไม่รวมถึงคอร์สไฟไหม้ปีนี้ ที่พี่ว่าต้องออกเร็วหน่อย ให้น้องสรุปเข้มๆ แบบปีก่อนที่เซฟหลายคนไว้

.

ก็ชีวิตมีหลายอย่างที่ต้องทำเนอะ

บางที ต่อให้วางแผนมาดียังไง

ก็ต้องมีปรับกันหน้างานด้วย

.

ดังนั้น ถ้าเดือนนี้ ใครยังเก็บฟิสิกส์ หรือวิชาอื่นๆ ที่ตั้งใจไว้ไม่ถึง 50% ต้องปรับ Perfect plan เป็น Rigth now plan แล้วล้ะ

.

ทำโจทย์ เลือกเก็บ เอาบทที่เก่งให้แม่นๆ ไว้

สะสมกำลังใจ อย่าให้แผ่ว

👉🏻ค่อยๆ เติมจุดที่บกพร่อง

สปีดขึ้นเท่าที่ได้ ทำให้สม่ำเสมอ

ความฝันเราใกล้เป็นจริงแล้ว

อีกนิดเดียว ~!!!

.

#พี่เป็นกำลังใจให้

และเรามาเป็นกำลังใจให้กันกันเถอะ🧡

.

แนะคอร์สฟิสิกส์ สำหรับ ม.6 สอบปีนี้

✅ Refined Physics 90 ชม.จบคอร์ส

คอร์ส Refined Physics ฟิสิกส์ A-level

ปรึกษาการสมัครเรียน ทักข้อความเลย

.

#dek66#tcas66#คอร์สฟิสิกส์#เรียนพิเศษ#ฟิสิกส์#กวดวิชา#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm

Let’s do the Right now plan :) Read More »

เทคนิคเตรียมตัวก่อนเรียน “จงเขียนสิ่งที่เรารู้ก่อน”

💯💯 อยากเรียนเก่งอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องใส่ใจตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนเรียน 🧡 หนึ่งในเทคนิคเตรียมตัวที่พี่อยากจะมาแนะนำคือ #การเขียนสิ่งที่รู้ไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลจริง~!!

.

เวลาเราเรียนเรื่องใหม่ๆ อาจจะไม่เข้าใจความหมายของข้อมูลที่ได้รับมาดีนัก ❗️ ทำให้รู้สึกท้อแท้ ไม่อยากเรียนขึ้นมา และกลายเป็นว่า ไม่ชอบวิชานั้นไปเลย

.

ขอแนะนำว่า ก่อนเรียน ให้ใช้เทคนิค “การเขียนสิ่งที่รู้แล้วล่วงหน้า”

ซึ่งเป็นเทคนิคที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดรับรองผลว่า ✅ ช่วยให้เข้าใจข้อมูลใหม่ง่ายขึ้น + เพิ่มอัตราการจำฝังแน่น

.

แค่ 2 ขั้นตอนง่ายๆ คือ

.

1. “คิด” ว่ามีอะไรบ้างที่รู้อยู่แล้ว และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่กำลังจะเรียน

.

2. “เขียน” สิ่งที่คิดออกทั้งหมดลงไป โดยกระบวนการคิด/ นึกถึงความรู้ที่มีอยู่แล้ว จะช่วยให้เข้าใจข้อมูลใหม่ง่ายขึ้น

.

.

#ตัวอย่างเบาๆ ในฟิสิกส์

ม.5 เทอม 2 เรากำลังจะเรียนเรื่องไฟฟ้า ก่อนเรียนให้ลองนึกดูว่า

เรารู้อะไรเกี่ยวกับไฟฟ้าบ้าง เช่น

✏️…ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ที่มาจากท้องฟ้า

✏️…เคยจับลูกบิดประตูแล้ว รู้สึกโดนไฟช็อตเบาๆ

✏️…เรื่องนี้เคยฟังมานิดๆ หน่อยๆ ในบทก่อน

เป็นต้น

.

หลังจากคิดเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับไฟฟ้าไว้บ้างแล้ว

ค่อยเปิดหนังสืออ่าน เริ่มเรียน

🖤 เราจะเริ่มคิดได้และเข้าใจในทันที

🧡 เพราะกลไกความจำของมนุษย์

​เกิดจากการ #เชื่อมโยงข้อมูลใหม่กับข้อมูลเก่า

.

ถ้าให้เปรียบ

– ความรู้เก่าเป็นลำต้น

– การเรียนรู้คือการแตกกิ่งก้านออกไป

ดังนั้น จำไว้ว่า ความรู้ใหม่ “ต้อง” เชื่อมโยงกับความรู้เก่า

สมองของเราจึงจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองดีที่สุด

.

คือเข้าใจได้-จำแม่น-จำได้นาน นั่นเอง

.

.

คอร์สออนไลน์อย่างฮอทไม่ช็อตฟีล

คอร์สฟิสิกส์ ม.ปลาย

ปรึกษาวางแผนการเรียน ทักไลน์เลย

https://lin.ee/w3cWEmp

.

#physicsfarm#ฟิสิกส์ฟาร์ม#เทคนิคการเรียน#ความรู้รอบตัว#dek66#dek67#dek68#dek69#ฟิสิกส์มอปลาย

เทคนิคเตรียมตัวก่อนเรียน “จงเขียนสิ่งที่เรารู้ก่อน” Read More »

โคมลอย ลอยได้ยังไง? ฟิสิกส์มีคำตอบ

🦄#คิดซิๆ ทำไมลอยได้? เห็น “โคมลอย” เยอะแยะในวันนี้ 🪄🪄ฟิสิกส์มีคำตอบให้จร้า

“แรงยก” หรือ “Lift” อาจเป็นอีก term ที่น้องๆ ม.ปลาย ยังไม่คุ้นกัน แต่ในวิชาพลศาสตร์การบิน คำนี้คือ universal มากๆ 🧡 ใครอยากเรียนวิศวะ ใครอยากเป็นนักบิน ต้องแชร์~!! มาตอบคำถามว่า “โคมลอย” ลอยได้ยังไงด้วยการวิเคราะห์แรงที่เกี่ยวข้องกันเป็นเสต็ปได้เลย อ่านจบแล้วลองกลับมาดูภาพแรกน้า แล้วช่วยเรียงอุณหภูมิ T1 T2 และ T3 จากมากไปน้อย —- ตอบถูก ขอให้สอบติดดด💛🧡 🚩 ขอให้ นร. มีความสุขในวันลอยกระทงกันมากๆ น้า ใครจะปล่อยโคม ขอให้เล่นในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นค่า

#dek66#dek67#dek68#tcas66#ลอยกระทง#ฟิสิกส์#ความรู้รอบตัว#วิทยาศาสตร์

โคมลอย ลอยได้ยังไง? ฟิสิกส์มีคำตอบ Read More »