fbpx

PFAH

ติว.ฟิต.มิดเทอม ม.4 การเคลื่อนที่แนวตรง

มิดเทอมนี้ ฟิสิกส์ฉันต้องปัง เกรดต้องไม่พัง เพราะฉัน..ติวกับ… พี่ฟาร์มมมมมม เย่ๆๆ! … มาแล้วจ้ากับงาน #ติวฟรี#ติวมิดเทอม ของ น้อง ม.4 ในบท การเคลื่อนที่แนวตรง กับ 5 ไฮไลท์สำคัญที่ออกสอบทุกสนาม

  • ปริมาณการเคลื่อนที่
  • เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
  • สมการการเคลื่อนที่
  • กราฟการเคลื่อนที่
  • การตกอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วง

Download ชีทเรียนที่นี่เลย

จะดูเพื่อเตรียมสอบ #TCAS #Alevel ก็เนื้อหาเดียวเป๊ะเลยน้าาาา ขอให้ได้เกรด 4 กันถ้วนหน้าจ้า

#ฟิสิกส์#ฟิสิกส์ฟาร์ม

ติว.ฟิต.มิดเทอม ม.4 การเคลื่อนที่แนวตรง Read More »

[Breaking News] NANOGrav ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ

NANOGrav ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ

แล้วคลื่นความโน้มถ่วงคืออะไร??

เมื่อวัตถุมวลมหาศาลอย่างหลุมดำหรือดาวนิวตรอนที่โคจรวนรอบกันและกัน ก่อให้เกิดแรงดึงดูดของวัตถุอย่างสุดโต่ง จนพาดาวให้เข้ามาชนและรวมตัวเข้าด้วยกันในที่สุด

เหตุการณ์แบบนี้จะทำให้พลังงานมหาศาลถูกปลดปล่อยออกมา เกิดเป็นคลื่นความโน้มถ่วงที่แผ่ออกไปในจักรวาลทุกทิศทางเหมือนระลอกคลื่นในน้ำ

สิ่งนี้เป็นเพียงจินตนาการจนเมื่อปี 2015 ทีมนักวิจัย LIGO สามารถตรวจจับเจ้าคลื่นนี้ได้ที่ความถี่สูง นำไปสู่ความก้าวหน้าในการศึกษาทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ใหม่ๆ ตามมาอีกมากมาย

และในวันนี้เราก็ได้พบกับคลื่นความโน้มถ่วงอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ “คลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ”

ถ้านึกไม่ออกถึงความพิเศษนี้ ลองคิดเป็นคลื่นเสียงดูก็ได้ คลื่นเสียงที่ความถี่สูง ก็เหมือนเสียงนักร้องชายหญิงที่เราได้ยินกันคุ้นหู ส่วนเสียงความถี่ต่ำคือเสียงฮัมหึ่มๆๆ เสียงเบสทุ้มๆ นั่นเอง

การค้นพบนี้ทำให้เรารู้ว่าทั่วทั้งเอกภาพมีคลื่นตัวนี้อยู่ จินตนาการเอาเหมือนเป็นเสียงเพลงจากพระเจ้าคอยฮัมขับกล่อมเราอยู่ทั่วเอกภาพ

ความต๊าซของ Nanograv ในการจับคลื่นตัวนี้ได้มันอยู่ที่การใช้ประโยชน์จากพัลซาร์ Pulsar ในการตรวจวัด

พัลซาร์ เป็นดาวนิวตรอน ที่เกิดหลังจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ตายลงแล้วยุบตัวทำให้มีความหนาแน่นสูงมากๆๆๆๆ และหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงปรี๊ด พร้อมกับแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา

เวลาที่มันหันด้านที่มีคลื่นรุนแรงเข้าหาโลกเรา เครื่องมือบนโลกก็วัดการวาบพุ่งของรังสีนี้ได้ พอมันหมุนหันไปทางอื่น รังสีที่วัดได้ก็น้อยลง พอด้านเดิมหันกลับมา เราก็จะเจอกับการวาบพุ่งของรังสี ทำให้เจอการ วาบ-วูบ-วาบ-วูบ เป็นจังหวะ ซึ่งจังหวะของมัน “เป๊ะ” มากๆ จนนักดาราศาสตร์เอามาใช้เป็นนาฬิกาบอกจังหวะที่มีความแม่นยำสูง

ที่นี้พอเกิดเหตุดาวยักษ์หรือหลุมดำสองดวงจะชนกัน จนมีคลื่นความโน้มถ่วงกระเพื่อมออกมา เจ้าคลื่นนี้จะทำให้ผืนอวกาศบิดเบี้ยว ถ้าการบิดเบี้ยวนั้นมาเกิดกับจังหวะที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากพัลซาร์กำลังส่งมายังโลก มันก็จะไปรบกวนการส่งนี้ ทำให้วัดจังหวะ วาบ-วูบ-วาบ-วูบ ได้ช้าลง (แต่คือดีเลย์น้อยมากกกก ขนาดนาโนวินาทีเท่านั้น)

ความเริศก็คือ Nanograv เค้าวัดสิ่งที่เล็กน้อยขนาดนี้ออกมาได้ โดยศึกษาจากพัลซาร์ถึง 68 แห่ง ใช้เวลารวบรวมข้อมูลถึง 15 ปี (มีลูกก็ลูกโตเลยค่ะ) จนได้ข้อสรุปว่าสิ่งที่มาบิดเบี้ยวกาลอวกาศจนทำให้พัลซาร์มีจังหวะเพี้ยนไปเสี้ยววินี้คือ “คลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำพิเศษ”

สิ่งนี้จะเปิดประตูสู่การศึกษาปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ อีกล้านแปดอย่าง รอเรียนกันเลยค่ะวิ

อร้ายยยย น่าตื่นเต้นดีใจอะไรอย่างนี้
วิทยาศาสตร์จงเจริญ
ฟิสิกส์จงเจริญ

เล่าสู่กันฟังด้วยความตื่นเต้นปลื้มปิติที่สิ่งนี้เกิดขึ้นในช่วงชีวิตของฉันนนนนนนน คริคริ

[Breaking News] NANOGrav ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงความถี่ต่ำ Read More »

กลอนฟิสิกส์วันสุนทรภู่

😉#วันสุนทรภู่ ทั้งที พี่ขอแจก “บทกลอน” ร่ายคาถา แก้มนตรา “ตกฟิสิกส์” กันหน่อยนะคะ สวดกันวนไปค่ะ~ ม่ะ! เริ่ม!

———

👉อันฟิสิกส์วิทยาเหมือนอาวุธ

ทั้งแรงฉุด.. แรงดัน.. นิวตันจ๋า..

ฮาร์มอนิก คลื่นกล ของไหลมา

เทอมนี้แหละ น้องข้า จะคว้าชัย !!

👉ขอเกรดสี่…. จงมี แด่ทุกท่าน

จะมิดเทอม ไฟนอลกัน ก็รับไหว

เพียงฝึกฝน ทำโจทย์ ให้เพลินใจ

เรียนสนุก ความรู้ได้ “ฟิสิกส์ฟาร์ม”

———

.

🥳🥳🥳 ~นางผีเสื้อสมุทร เอ๊ยยย ติวเตอร์ฟิสิกส์คนนี้ ก็ขอเป็นอีกแรงใจให้น้องๆ แผ้วพานจากวิชาแสนยากอย่างฟิสิกส์นะคะ ~!!

กลอนฟิสิกส์วันสุนทรภู่ Read More »

เรียนรู้เรื่องแรงดันน้ำจากข่าวยานดำน้ำไททัน

🙏ขอแสดงความเสียใจกับข่าว #ยานดำน้ำไททัน นะครับ โดยหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ แถลงคอนเฟิร์มการเสียชีวิตของผู้ที่อยู่ในยานในช่วงเช้านี้ จากข่าว ระบุว่า “ตัวยานระเบิด” เนื่องจาก #แรงดันน้ำมหาศาล ใต้มหาสมุทร…

✏️พี่ฟาร์มอยากจะขอหยิบข่าวนี้ มาเป็นทั้งอุทธาหรณ์และทบทวนความรู้ของน้องๆ ไปพร้อมกันนะ

เราคุ้นเคยกับ #แรงดันน้ำ ตามประสบการณ์ แค่ว่ายในสระน้ำส่วนที่ “ลึก” กับ “ตื้น” – เรายังรู้สึกสบายตัวต่างกัน – ว่ามั้ย 🏊‍♂️🏊‍♂️🏊‍♂️ แล้วกับการดำดิ่งลงไปใต้มหาสมุทรที่ลึกเบอร์นั้นล่ะ?

และในชั้น ม.ต้น ช่วง ม.2-3 เราได้เรียนสูตรการหาความดันมาบ้างแล้ว ทบทวนแบบเข้มๆ อีกทีช่วง ม.6 เทอม 1 (แถม~!! เป็นข้อสอบเข้าปีเว้นปีเลย)

แม้จะยืนยันไม่ได้ว่าการระเบิดเกิดขึ้น ณ จุดไหน เวลาใด แต่สาเหตุหลักๆ ที่เขาจะฟ้องกันต่อไปคือ 🛠 “สเปค” ของยานดำน้ำนี้ มันไม่เหมาะจะลงไปลึกขนาดนี้ตั้งแต่แรกแล้ว ถ้ามีความรู้มากมาย… แต่สุดท้ายประมาท { วิศวกรผู้เกี่ยวข้อง บริษัทในวงการเหล่านี้ ย่อมรู้ฟิสิกส์สิ !!! } ย่อมส่งผลเสียหายร้ายแรงเกินกว่าใครจะมาจ่ายไหว

– เรียนไปคิดไป ใช้ชีวิตไม่ประมาทกันครับผม –

ด้วยรักจากครูฟาร์ม

วิธีคิดคือ

  1. กำหนดให้ความดันบรรยากาศด้านบนมีค่าน้อยกว่าความดันคำตอบ จนละทิ้งได้
  2. กำหนดความหนาแน่นน้ำทะเลเป็นค่าคงที่ เพื่อความง่ายในการคำนวณในระดับชั้น ม. ปลาย

Fact : ความหนาแน่นน้ำทะเลมีค่าขึ้นกับหลายปัจจัย

a. อุณหภูมิ : ยิ่งลึกลงไปใต้ทะเล น้ำทะเลจะมีอุณหภูมิลดลง (เย็นลง) โดยปกติ น้ำเย็นจะมีความหนาแน่นสูงกว่าน้ำอุ่นอยู่แล้ว ทำให้ยิ่งลึก ความหนาแน่นยิ่งสูง

b. ความเค็ม : คือความเข้มข้นของเกลือที่ละลายในน้ำ โดยทั่วไปความเค็มที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความหนาแน่นเพิ่มตาม

c. ความดัน : ยิ่งลึกลงไป ความดันที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อนุภาคต่างๆ ถูกบีบอัดให้ชิดกันเข้ามา ทำให้ความหนาแน่นเพิ่มขึ้น (แต่ก็เล็กน้อยมาก)

ผลจากปัจจัยทั้งสาม ทำให้น้ำทะเลแต่ละแห่งมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน แต่เพื่อความง่ายในการเรียนระดับม.ปลาย โจทย์มักจะกำหนดความหนาแน่นให้เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งไปเลย

ความดันเนื่องจากน้ำหนักของไหลกดทับ เรียกว่า #ความดันเกจ (Gauge Pressure : Pg) แต่จริงๆ ความดันทั้งหมด เกิดจากทั้งของเหลว(น้ำทะเล) และอากาศกดทับลง ความดันนี้เรียกว่า #ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure : Pab) จะได้ว่า Pab = Pg + Pair

แต่เพื่อความง่ายในการคำนวณของน้องๆ พี่ฟาร์มขอละ Pair เนื่องจากมีค่าน้อยกว่า Pg มากๆ นะครับ

ที่ระดับน้ำทะเล ความดันอากาศมีค่า 1×10^5 Pa หรือ 0.1 MPa

ที่ระดับลึกลงไป 3,800 เมตร ความดันอากาศมีค่าประมาณ 38 MPa

ความต่างนี้โหดร้ายมาก มากถึง 38/0.1 = 380 เท่า

นึกภาพความสบายผิวสบายตัวเวลาไปเล่นน้ำแถวชายหาดที่ระดับน้ำทะเล (นั่นคือ 0.1 MPa) แล้วจินตนาการต่อว่ามีความดันมากดทับกว่านั้นขึ้นไปเกือบๆ 400 เท่า.. โอ๊ยไม่อยากจะคิด น่าสะพรึงมาก

การระเบิดจากการบีบอัดจากภายนอกเข้าไปแบบนี้ เรียกว่าการระเบิดแบบ Implosion

(ตรงข้ามกับการระเบิดแบบปกติที่เราคุ้นเคย เป็นการระเบิดที่ดันออกมาจากภายใน Explosion)

ตอนนี้มีภาคต่อเรื่อง Exposion ติดตามได้น้า

#dek67#tcas67#alevel67#dek68#tcas68#alevel68#ฟิสิกส์มอปลาย#ฟิสิกส์ฟาร์ม#physicsfarm#เรียนพิเศษ#กวดวิชา#tcas#alevel#ฟิสิกส์เอเลเวล#physicsalevel#studygramthailand

เรียนรู้เรื่องแรงดันน้ำจากข่าวยานดำน้ำไททัน Read More »

10 วิธีค้นพบตัวเองฉบับเด็ก ม.ปลาย

วุ่ยรุ่นคนไหนอยาก #พัฒนาตัวเอง ไปอย่างถูกทางและไม่เหนื่อยฟรี! พี่มีคำแนะนำมาแชร์ >> เพราะการ “ค้นหา” และ “สำรวจ” ความสนใจและความชอบของตัวเอง เป็นเรื่อง-สำ-คัญ-มาก ลองดูแนวทาง 10 ข้อนี้ ที่จะช่วยให้น้องค้นพบตัวเองและมุ่งไปสู่เส้นทางสำหรับอนาคต

(1.) เริ่มต้นที่การสะท้อนตัวเองให้เป็น (Self-Reflection) เรื่องนี้ “ต้องให้เวลาตัวเอง” คือให้น้องลองคิดถึงความสนใจ… จุดเด่น… และคุณค่าต่างๆ ที่ตัวเองมีดูสิ ลองเชื่อมต่อมันออกมาเป็นกิจกรรมหรือบทเรียนสนุกๆ ที่เราอยากทำหรือรู้สึกเติมเต็มเสมอเมื่อได้ทำ เพื่อกระตุ้นความคิดและเช็กตัวเองจนเก็ทเป็นตัวตนของเราขึ้นมา

(2.) ออกไปเจอประสบการณ์หลากหลาย: กิจกรรมตอนนี้มีเยอะมาก ทั้งออนไลน์และออฟไลน์  ขอให้น้องเลือกเอาเข้ามาเติมให้ชีวิตได้ >> ทั้งศิลปะ กีฬา ดนตรี การทดลองวิทย์ทำเองได้ที่บ้าน เทคโนโลยีโดนๆ หรือจะไปทำกิจกรรมกับผู้คนใหม่ๆ ได้ทั้งนั้น จะช่วยให้ได้เจอกับความสนใจและสิ่งที่ชอบไวขึ้น

(3.) อยากรู้อะไร-ไปให้สุด : นี่คือยุคของการ “ตั้งคำถาม” สงสัยเรื่องไหน ให้โอกาสตัวเองหาคำตอบ + สำรวจไอเดียใหม่ๆ เต็มที่ อ่านหนังสือ ดูสารคดี ไปมิวเซียม หรือแค่ลองพูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์มากกว่าในเรื่องต่างๆ ดู “ความอยากรู้อยากเห็น” นี่แหล่ะ เป็นตัวขับเคลื่อนให้น้องไปค้นพบความสนใจ และเส้นทางอาชีพใหม่ๆ ที่อาจจะลอง

(4.) หาเมนเทอร์ในชีวิต :  ใครอยากเก่งเร็ว รีบหาเมนเทอร์หรือพี่เลี้ยงโดยด่วน วิธีนี้น้องจะได้ “เรียนรู้” จากประสบการณ์ของผู้อื่นแบบลงลึก โดยเฉพาะเรื่องอาชีพและเส้นทางการทำงานจริงๆ ยิ่งได้รับคำแนะนำจากมืออาชีพมากเท่าไหร่ มุมมองน้องจะยิ่งกว้างกว่าคนอื่นๆ เมนเทอร์จะเป็นคนในบ้าน คุณครู ผู้นำชุมชน หรือคนที่น้องฟอลในไอจีก็ยังได้ :3 

(5.) ลุยงานอาสากับชุมชน : อันนี้จากประสบการณ์ส่วนตัวของพี่นะ การได้สัมผัสกับปัญหาสังคมจริงๆ มันจะทำให้เราอยากริเริ่มทำอะไรดีๆ “เพื่อคนอื่น” เรียกว่าเป็นบทใหม่ในชีวิตเลย งานอาสายังช่วยสร้างให้เรากลายเป็นคนเห็นอกเห็นใจคนอื่น และรักคนอื่นเป็น และในหลายๆ ครั้ง ให้เป้าหมายในชีวิตด้วย

(6.) “หา” ทรัพยากรและข้อมูลเพิ่มเติม : ถ้าน้องอยากรู้ น้องต้องเข้าสู่แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งน้องมีตัวเลือกเยอะมากเลย ทั้งหนังสือ เว็บไซต์ และแพลทฟอร์มออนไลน์ต่างๆ ที่จะให้ข้อมูลทักษะใหม่ๆ รวมถึงอาชีพอินเทรนด์หลากหลาย ยิ่งโลกเปลี่ยนไว เราก็ยิ่งต้องตามให้ทัน ซึ่งปัจจุบันมีทั้ง Vlog และมืออาชีพในสาขาต่างๆ มาแชร์ประสบการณ์ และชีวิตจริงของอาชีพนั้นๆ มากมายเลยอีกด้วย

(7.) บอกเล่า-สื่อสารอย่างเปิดอก: หาเซฟโซนสักแหล่ง ที่น้องจะเปิดเผยและได้กำลังใจ อาจจะเป็นกลุ่มเพื่อน กลุ่มชมรม หรือคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน เซฟโซนจะเป็นพื้นที่ที่น้องจะพูดถึงความคิด ความฝัน และสิ่งบันดาลใจต่างๆ ไม่ให้ตัวเอง “ลืม” ว่าเคยอยากทำอะไร ถ้ามันยังไม่มี-ก็เริ่มสร้างเองยังได้~!! ลองดูๆ

(8.) ลองผิดลองถูก: มันโอเคที่จะ “ลอง” แล้ว “เลือก” ไปด้วย หมายความว่าน้องจะเปลี่ยนใจระหว่างทางก็ได้ ต่อให้เรื่องไหนเราริเริ่มแล้วแต่ไปไม่ถึงฝัน อย่างน้อยมันก็เป็นโอกาสที่เราเรียนรู้เติบโตนะ เส้นทางของการค้นหาตัวเอง ต้องได้ลองหลายๆ ทางและปรับจูนเสมอๆ การเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่งหรอก 🙂 

(9.) ปกป้องหัวใจนักสู้ของตัวเองด้วย : คนเรามีวันเข้มแข็งและมีวันที่อ่อนแอ / หากวันไหนแรงหมด / น้องๆ ต้องมีบัฟเฟอร์คอยเซฟตัวเองด้วยนะคะ ซึ่งการจะ “พัฒนา” หัวใจนักสู้ขึ้นมาอาศัยประสบการณ์และความเข้าใจในจุดแข็ง – จุดอ่อนของตัวเอง เพื่อเราจะมีแรงบากบั่น ไม่ล้มลงต่ออุปสรรค และ “ไปต่อ” ในสิ่งที่มุ่งหวังได้จนสุด

(10.) การสร้างเป้าหมายและแผนการที่ชัดเจน: ตั้งเป้าหมาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว พยายามทำให้เป็น action plan ที่สุด โดยย่อยเป้าหมายใหญ่ให้เป็นขั้นตอนเล็กๆ เพื่อติดตาม progress เช่น #อยากเป็นหมอ อ่ะ ไหนหมอใช้คะแนนอะไรบ้าง เปิดกี่รอบบ้าง จริงๆ เขาต้องทำอะไรหรือเก่งอะไรในอาชีพนี้บ้าง ลองลิสต์ดูแล้วเราจะปะติดปะต่อเส้นทางได้ ไม่เหนื่อย ไม่ลน

จำไว้ว่า การค้นหาตัวเองเป็น “เรื่องส่วนตัวของใครของมัน” แต่ละคนสร้างไปไม่เหมือนกัน เพราะความสุขและเงื่อนไขชีวิตเราไม่เหมือนกัน ขอให้น้องอดทน เป็นทั้งสายรุกและสายซัพในตัว ให้โอกาสและใจดีกับตัวเอง ติดตามความฝันของตัวเอง :)) พี่เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

#DEK67 #DEK68 #DEK69 #tcas67 #tcas68 #tcas69 #alevel67 #alevel68 #alevel69 

10 วิธีค้นพบตัวเองฉบับเด็ก ม.ปลาย Read More »

31 มีนาคม เรอเน เดคาร์ต | บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์ ผู้สร้างโลกใบใหม่ด้วยระบบพิกัดแกน X แกน Y

ในอดีตนั้น #วิชาพีชคณิต (บวก ลบ คูณ หาร ฯลฯ) กับวิชา #เรขาคณิต ถือเป็น 2 วิชาที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ปัญหาทางเรขาคณิต ยังไม่มีวิธีที่จะใช้พีชคณิตแก้ปัญหาออกมาได้ จนกระทั่ง วิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ ได้ถือกำเนิดขึ้น….โดยบุรุษผู้นี้ค่ะ #เรอเน เดคาร์ต (René Descartes)

.

วันที่ 31 มีนาคมเป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณเดคาร์ต 🎁 พี่ฟาร์มจึงอยากพาน้องๆ มาร่วมรำลึกถึงผลงานที่ยิ่งใหญ่ในระดับที่ “เปลี่ยนโลก” ของคุณเค้ากันนะคะ

.

เมื่อวันนี้ในปี 1596 (427 ปีที่แล้ว) เด็กชายเรอเน เดคาร์ตได้ถือกำเนิดมาในครอบครัวนักการเมืองที่เมืองตูเรนแห่งฝรั่งเศส เมื่อคุณแม่คลอดทารกน้อยออกมาได้ไม่นานก็ป่วยเป็นวัณโรคจนต้องจากโลกนี้ไป เด็กชายเดคาร์ตเพิ่งจะอายุได้สองสามขวบเองค่ะ หลังจากนั้นไม่นานคุณพ่อก็แต่งงานใหม่ ทำให้คุณเรอเน่ถูกส่งไปอยู่กับยาย

.

คุณเดคาร์ตตอนเด็กๆ นั้นร่างกายอ่อนแอ ป่วยบ่อย ทำให้ได้เข้าเรียนช้ากว่าเกณฑ์ กว่าจะได้เข้าเรียนก็อายุปาเข้าไป 11 ขวบแล้ว ซึ่งการได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประจำเมืองลาเฟลคเชอตอนนั้น ทำให้เขาได้เรียนวิชามากมายจนเฉลียวฉลาด

.

ทั้งตรรกะ จริยธรรม คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และอภิปรัชญา (​เมตาฟิสิกส์) หลังจบจากโรงเรียนตอนอายุ 18 ปี ก็เรียนต่อวิชากฎหมาย (ตามใบสั่งของคุณพ่อ) จนจบการศึกษาในสองปีให้หลังก็ย้ายไปยังกรุงปารีส

.

คุณเดคาร์ตชอบศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง ผ่านทาง “#การครุ่นคิด” เขาชอบเดินทางไปพบปะผู้คนตามเมืองต่างๆ ยิ่งหลากหลายยิ่งได้สั่งสมความคิดและประสบการณ์ที่หลากหลายมากขึ้น

.

📍 จนเมื่ออายุ 20 ปี เขาสมัครเป็นทหารรับจ้างที่กองทัพโปรแตสแตนท์แห่งสาธารณรัฐดัตช์ (เนเธอแลนด์ในปัจจุบัน) พออายุได้ 23 ปี ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นทหารรับจ้างแห่งดยุกคาธอลิคต่อ เมื่อจบภารกิจสงครามในปี 1620 ก็ได้ลาออกจากกองทัพแล้วใช้เงินเก็บที่มีเดินทางทั่วยุโรปไปศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเองต่อ จนกลับมาอยู่เนเธอร์แลนด์ถาวรในปี 1628

.

คุณเดคาร์ตมีชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่กาลิเลโอกำลังดังสุดขีดนะคะ แต่เป็นความดังพลุแตกในเรื่องที่กำลังถูกสาปค่าาาา ⚠️⚠️⚠️

.

น้องๆ จำกันได้ไหมว่าก่อนนี้ #ศาสนจักร มีคำสอนว่าโลก 🌎 เป็นศูนย์กลางของจักรวาล พอ #กาลิเลโอ ตีพิมพ์หนังสือ Dialogue ที่สนับสนุนแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ฝ่าฝืนคำสอนของ (คนของ) พระเจ้า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ศาสนจักรยอมไม่ได้ค่ะ! นอกจากประณามแล้วยังถูกแบนถูกลงโทษอีกสารพัด

.

คุณเดคาร์ตก็ทราบกระแสเรื่องนี้ดี ตอนนั้นแกกำลังจะตีพิมพ์หนังสือ The World ซึ่งเนื้อหาเป็นศาสตร์สมัยใหม่อัน #ต้องห้าม สำหรับคริสตจักรเช่นกัน แกก็เลยต้องเหยียบเบรคไว้ก่อน แกเปลี่ยนวิธีตีพิมพ์เป็นการดึงเนื้อหาบางส่วนจากเล่มนี้ออกมาเขียนใหม่เป็นอีกเล่มนึงชื่อ Discourse on the Method ซึ่งได้รับการยอมรับไปทั่วยุโรปถึงความปังปุริเย่

.

ใน Discourse on the Method นี้ จริงๆ แล้วเป็นหนังสือปรัชญา มุ่งเน้นไปที่การวางกฏเกณฑ์ทางความคิด นอกจากหลักเกณฑ์ทางปรัชญาและความคิดแล้ว ยังมีบทที่เขียนถึงวิชาฟิสิกส์และคณิตศาตร์อีก 3 เรื่อง ได้แก่ The Meteors (อุกกาบาต) , Dioptrics (วิชาที่ว่าด้วยการหักเหแสง) และ Geometry (เรขาคณิต) ซึ่งในบทเรขาคณิตนี้เองที่วิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ (Analytic Geometry) ได้ถือกำเนิดขึ้นค่ะ

.

.

มีเรื่องเล่ากันต่อๆ กันมาเกี่ยวกับกำเนิดเรขาคณิตว่า มาจากแมลงวันตัวหนึ่งค่ะ เอ๊ะ อะไรยังไง ??🌝

.

มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่คุณเดคาร์ตนอนอยู่บนเตียง เขาเหลือบไปเห็นแมลงวันไต่อยู่บนเพดานห้อง หลังจากจ้องมองมันอยู่สักพักเขาก็เกิดความคิดที่อยากจะระบุตำแหน่งของมันออกมาให้ใครก็ตามที่เข้าใจวิธีการระบุนี้ ไม่ว่าจะอยู่ที่นี่กับเขาหรือไม่ ก็เข้าใจว่าแมลงวันอยู่ตรงตำแหน่งไหนของเพดานได้

.

เขา #จินตนาการ ว่าผนังห้องคือ #แกนสองแกนที่ตั้งฉากกัน

.

ตำแหน่งของแมลงวันสามารถระบุได้จากระยะทางของมันที่อยู่ห่างจากแกนทั้งสอง 👀 (คงประมาณว่าจุดที่แมลงวันอยู่ ห่างจากแกนราบสูงขึ้นมากี่หน่วย ห่างจากแกนดิ่งออกไปกี่หน่วย เป็นระยะ x y ประมาณนั้น)

.

นี่แหละค่ะ กำเนิดแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์ที่นำไปสู่ระบบการบอกตำแหน่งบนระนาบจากแกนสองแกนที่ตั้งฉากกันที่เรียกว่า Cartesian Coordinating System (Cartesian แปลว่า Follower of Descartes หรือผู้ติดตามของเดคาร์ตค่ะ มันจะเป็นภาษาแบบฝรั่งเศสฝรั่งเศสอ่ะนะ)

.

แนวคิดแห่ง #ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน นี้ได้ถูกพัฒนาต่อด้วยศิษยานุศิษย์และคนรุ่นต่อๆ มา จนกลายเป็นวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ในปัจจุบัน ในวันนั้นคุณเดคาร์ตสามารถแสดงให้เห็นว่า เรื่องราวในวิชาเรขาคณิตอย่างพวกเส้นตรง เส้นโค้ง วงรี วงกลม ไฮเปอร์โบลา พาราโบลา และอีกล้านแปดอย่าง สามารถแทนได้ด้วยสมการพีชคณิต การแก้โจทย์เรขาคณิตที่แต่ก่อนต้องวาดภาพลากเส้นเท่านั้น จึงสามารถใช้การแก้สมการเข้ามาตอบโจทย์ได้

.

✨ น้องๆ ต้องนึกถึงโลกเมื่อสี่ห้าร้อยปีที่แล้วที่พีชคณิตกับเรขาฯ เหมือนเป็นโลกคนละใบ พอมีคนเชื่อมโยงมันเข้าด้วยกันได้ มันจะน่าตื่นตะลึงขนาดไหนนะ … และนิวตันเองก็ได้ใช้องค์ความรู้นี้แหละมาต่อยอดพัฒนาจนเกิดเป็นวิชา “แคลคูลัส” ในเวลาต่อมา

.

จริงๆ ยังมีผลงานอีกมากกมายที่คุณเดคาร์ตได้คิดค้นไว้ เช่น วิธีหาความจริงในวิชาวิทยาศาสตร์ การเชื่อมโยงตรรกะและวิธีพิสูจน์ทางคณิตศาตร์เพื่อตอบปัญหาปริศนาลึกลับต่างๆ วิชาปรัชญาที่มุ่งใช้ “การคิดหาเหตุผล” เป็นที่มาของความรู้ จนเกิดวาทะอันโด่งดังไปทั่วโลกที่ว่า I think, therefore I am (เพราะฉันคิด ฉันจึงมีอยู่) ฯลฯ

.

ด้วยความยิ่งใหญ่ในผลงานที่ทำให้วิทยาการโลกก้าวไปข้างหน้าสุดๆ แบบนี้ คุณเดการ์ตจึงได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์” และยังเป็น “#บิดาแห่งวิชาปรัชญาสมัยใหม่” อีกด้วย

.

ในวันคล้ายวันเกิดของคุณเรอเน่ เดคาร์ตในวันนี้ ฟิสิกส์ฟาร์มก็ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการระลึกถึงสิ่งที่คุณเดคาร์ตได้ทำด้วยความรู้สึกขอบคุณค่ะ

.

👏 ด้วยความโด่งดังในฐานะนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งพระราชินีแห่งสวีเดนก็ทรงชื่นชอบในผลงานของเขา จนปี 1649 ทรงเชิญคุณเดคาร์ตมาร่วมก่อตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งราชสำนักสวีเดน ถึงแม้คุณเดคาร์ตจะลังเลอยู่พักใหญ่ แต่สุดท้ายก็ตอบตกลง

.

แต่น่าเสียดายที่การมาทำงานที่สวีเดนที่ซึ่งอากาศหนาวเย็นอย่างโหดร้าย จะทำให้เขาป่วยเป็นโรคปอดบวมในปีต่อมาจนเสียชีวิตลงด้วยวัยเพียง 53 ปี (เอาจริงๆ ก็สงสัยว่าถ้าไม่มาก็น่าจะอายุยืนกว่านี้มั๊ยนะ)

.

ทุกวันนี้ แทบทุกวงการมีการนำการวาดกราฟ แสดงแกนตั้งแกนนอน ไปใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งงานวิทย์ คณิต วิศวกรรม การแพทย์ เศรษฐศาสตร์ บัญชี การตลาด ล้านแปดอย่างจริงๆ ค่ะ

.

😊 เป็นยังไงกันบ้างคะกับเรื่องราวผู้ให้กำเนินระบบพิกัด x y

ใครเป็นทีมอ่านจบ กด 1 รายงานตัวกันหน่อยน้าาาา อิอิ

#วันสำคัญ#นักฟิสิกส์#นักวิทยาศาสตร์#ฟิสิกส์

31 มีนาคม เรอเน เดคาร์ต | บิดาแห่งเรขาคณิตวิเคราะห์ ผู้สร้างโลกใบใหม่ด้วยระบบพิกัดแกน X แกน Y Read More »

𝗪𝗶𝗹𝗵𝗲𝗹𝗺 𝗖𝗼𝗻𝗿𝗮𝗱 Röntgen บุรุษผู้กดชัตเตอร์ภาพถ่ายแห่งความตายเป็นครั้งแรกของโลก

27 มีนาคม วันเกิด เรินต์เกน
.
𝗪𝗶𝗹𝗵𝗲𝗹𝗺 𝗖𝗼𝗻𝗿𝗮𝗱 Röntgen บุรุษผู้กดชัตเตอร์ภาพถ่ายแห่งความตายเป็นครั้งแรกของโลก
.
(ใครเป็นทีมอ่านจบ กด 1 ไว้ในคอมเมนต์เช็คชื่อเข้าเรียนกันนะคะ อิอิ
.
ในสมัยก่อนยุคการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าขนาดนี้ การจะมองเห็นโครงสร้างในร่างกายมนุษย์มีแต่จะต้องรอให้เป็น “ศพ” เสียก่อน แล้วจึงเอามา “ผ่า” หรือ “ชำแหละ” เปิดร่างและชิ้นส่วนต่างๆ ออกมา จึงจะรู้ว่าข้างในเป็นยังไง จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1895 นักฟิสิกส์ที่ทั้งเก่งและเฮงคนหนึ่ง (เรื่องนี้มีโชคมาเกี่ยวข้องด้วยค่ะ) ได้ค้นพบรังสีชนิดใหม่ของโลก และเขาได้นำมันมาแสดงปรากฎการณ์ด้วยการถ่ายภาพ “มือ” ที่ “มองเห็นไปถึงกระดูก” โดยไม่ต้องรอให้ตายแล้วผ่าตัดเปิดร่างออกมา ภาพดังกล่าวจึงเสมือนเป็นภาพถ่ายแห่งความตายอันแสนมหัศจรรย์
.
เรื่องราวของชายคนนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม 1845 วันนี้เมื่อ 178 ปีที่แล้ว เป็นวันที่เด็กชายเรินต์เกนลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรก เขาเกิดในครอบครัวของพ่อค้าชาวเยอรมันผู้เป็นเจ้าของโรงงานผ้า ตอนเบบี๋น้อยอายุได้ 3 ขวบก็สูญเสียคุณพ่อไป ครอบครัวจึงได้ย้ายถิ่นฐานไปยังเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นบ้านของญาติฝ่ายแม่ เขาเติบโตและเรียนหนังสือที่นั่น จนกระทั่งตอนอายุ 20 ปี คุณเรินต์เกนถูกไล่ออกจากไฮสคูลเนื่องจากครูจับได้ว่าเขาวาดภาพล้อเลียนครูคนอื่นๆ (ซึ่งมารู้ทีหลังว่าภาพนี้วาดโดยคนอื่นนะคะ โดนไล่ออกไปฟรีๆ แง)
.
พอไม่มีวุฒิว่าจบไฮสกูล การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็จะเป็นได้แค่ผู้เข้าชม (สถานะ visitor ไม่มีสิทธิ์ได้ดีกรีเลย แง) แต่ถึงอย่างนั้นคุณเรินต์เกนก็พยายามอย่างหนักในการเรียนต่อ จนสุดท้ายก็ได้เข้าเรียนที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (เดิมตั้งใจจะเรียนที่เนเธอแลนด์ แต่เธอไม่รับชั้นเข้าเรียนอ่ะ ฮึ) คุณเรินต์เกนศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกลจนจบปริญญาเอกที่นั่นเลยค่ะ
.
หลักจากนั้นมาคุณเรินต์เกนก็เริ่มเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสสอนและทำวิจัยในสถาบันดังหลายแห่ง จนกระทั่งปี 1895 … เขาก็ได้ค้นพบกับรังสีประหลาด รังสีชนิดใหม่ของโลก
.
ช่วงปีนั้น คุณเรินต์เกนกำลังศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับหลอดสูญญากาศของนักฟิสิกส์หลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นของคุณ Heinrich Hertz คุณ Johann Hittorf คุณ William Crookes คุณ Nikola Tesla คุณ Philipp von Lenard ฯลฯ (น้องๆ คุ้นชื่อกันสองสามคนอยู่เนอะ)
.
ก่อนหน้านี้ไม่นาน ที่ประเทศอังกฤษ มีเปเปอร์ตีพิมพ์ของคุณ Crookes เกี่ยวกับการค้นพบรังสีคาโทด (ที่ต่อมารู้กันว่าคือลำอิเล็กตรอน) เมื่อคุณเรินต์เกนทราบข่าว เขาจึงทำการทดลองตาม โดยนำหลอดแก้วที่สามารถสูบอากาศออกได้ เรียกว่า “หลอดเบลนนาร์ด” มาใช้
.
>>เริ่มจากครั้งแรก เมื่อสูบอากาศออกจากหลอดแก้วได้ส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสฟ้าเข้าไป เขาพบการเรืองแสงปรากฏเป็นสีชมพู
>>เมื่อสูบอากาศออกอีกส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าต่อ ปรากฏว่าเกิดการเรืองแสงเป็นสีน้ำเงินอ่อนๆ
>>และเมื่อสูบอากาศออกอีกส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้า ปรากฏว่าเกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวแกมแดง (ผลที่ได้ออกมานั้นเหมือนกับที่คุณครุกส์ค้นพบเลย)
.
คุณเรินต์เกนสงสัยว่ารังสีคาโทดสามารถผ่านหลอดแก้วสุญญากาศออกมาได้ไหม เขาจึงทำการทดลองต่อและพบว่ามันสามารถทะลุผ่านหลอดแก้วผนังบางได้ (ผนังหนาผ่านไม่ได้)
.
ต่อมาคุณเรินต์เกนใช้กระดาษสีดำทึบห่อผนังหลอดไว้อีกชั้นไม่ให้แสงสว่างลอดเข้าออกได้ แล้วใช้กระดาษแบเรียมแพลติโนไซยาไนด์ (Platinocyanide Paper ทำจากแบเรียม+ทองคำขาวแพลตทินัม) เอามากั้นเป็นฉากหลังหลอด เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดก็พบว่าไม่มีแสงใดผ่านออกมาได้เลย .. อ้าวรังสีตะกี๊ของฉันหายไปไหน ??)
.
เอาใหม่ ลองใหม่ แต่ทีนี้ของปิดไฟ ปิดประตูหน้าต่างให้ทุกอย่างมืดสนิท 3..2..1. แอคชั่น ว้าววววว มีแสงเรืองเกิดขึ้นบนฉากกระดาษแบเรียมฯ คร่าาา คุณผู้โช้มมมม
.
แต่พอเปิดไฟ แสงนั้นก็หายไป ยังไงนะมันยังไงนะ
.
คุณเรินต์เกนทำการทดลองซ้ำๆ จนได้ข้อสรุปว่ารังสีที่มองเห็นตอนปิดไฟนั้นไม่ใช่รังสีแคโทด แล้วจะจับมันให้คาหนังคาเขาว่ามีอยู่จริงๆ ได้ยังไงนะ มันดันเรืองแสงแค่ตอนมืด แต่พอสว่างดันมองไม่ได้ไล่ไม่ทันเห็นแบบนี้
.
เขาจึงนึกถึงหลักการของฟิล์มถ่ายรูปค่ะ (น้องๆ ใช้กล้องดิจิตอลกันอาจจะไม่คุ้นกับกล้องฟิล์มนะ แต่ว่าสมัยก่อนคือฮิตมากกกกกกกกก บ้านใครมีคือไฮโซสุด)
.
ปกติฟิล์มจะเคลือบสารไวแสงเอาไว้ เมื่อมีแสงตกกระทบมัน ก็จะเกิดปฏิกิริยาขึ้น ทำให้เกิดเป็นภาพบนฟิล์ม พอเอาไปล้างกับน้ำยาเคมีก็จะเห็นออกมาเป็นภาพสวยงาม
.
คุณเรินต์เกนจึงคิดว่า ถ้าลองเอารังสีไปถ่ายภาพ แทนที่จะให้แสงตกกระทบฟิล์ม ก็เปลี่ยนเป็นเจ้ารังสีนี้ตกกระทบฟิล์มแทน อ่ะลองดูซิ จะได้ภาพสวยงามเหมือนถ่ายรูปเลยมั๊ยยย
.
คุณเรินต์เกนปิดห้องให้มืดสนิท แล้วใช้ฟิล์มมาเป็นฉากแทนกระดาษแบเรียมฯ ปรากฏว่าเมื่อนำฟิล์มไปล้าง คุณพระ!!!!!!! เกิดภาพได้ด้วยยยยยยย$!%^~%!&
.
จากลักษณะฟิล์มที่เหมือนถูกแสงนี้ คุณเรินต์เกนจึงมั่นใจว่าสิ่งที่เขาพบนี้เป็นรังสีชนิดใหม่แน่ๆ แกตั้งชื่อให้มันว่า “รังสีเอกซ์ (X-ray)” หรือ “รังสีเรินต์เกน (Roentgen Ray)”
.
ความว้าวซ่าอเมซิ่งยังไม่จบเพียงเท่านี้ค่ะ เขาลองเอาเจ้ารังสีนี้มาถ่ายภาพวัตถุสิ่งของหลายชนิด ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง ในขณะที่เขากำลังลองถ่ายมือตัวเอง เขาก็พบว่า….
.
ภาพถ่ายที่ได้คือภาพที่เห็นมือทะลุไปถึงกระดูกกกกกกกก แกรรร๊ ลองนึกสิว่ามันจะน่าตื่นเต้นตกใจ่ขนาดไหน ครั้งแรกของโลกเลยนะ ที่เห็นอะไรแบบทะลวงโครงสร้างแบบนี้
ไม่ต้องกรีด ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องเลือด ไม่ต้องตาย ก็เห็นกระดูกข้างในได้ โอ้วมันยอดมากกกก
.
แต่ มือชั้นมันบ่งามเด้อ ด้วยความตื่นเต้นไปกับการค้นพบอย่างกะทันหัน คุณเรินต์เกนอยากจะแชร์ความวิเศษมหัศจรรย์นี้กับคนที่เค้ารักที่สุด จึงได้ตามคุณ Anna Bertha Röntgen ศรีภรรยามา แล้วขอถ่ายรูปมือของเธอซึ่งสวมแหวนแต่งงานอยู่ด้วย (รูปที่อยู่ในโพสต์นี้แหละ) นี่จึงเป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของโลก คุณเบอร์ธาถึงกับอุทานตอนเห็นภาพว่า I have seen my death! ใครอยากชมภาพจริงไปชมกันได้ที่ Bavarian State Library ที่เยอรมันเลยนะคะ
.
ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องราวการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้จะเกิดขึ้นในปี 1895 ปีเดียวเลย พอข้ามมาวันแรกของปีใหม่ในปี 1896 คุณเรินต์เกนได้เริ่มต้นปีใหม่ของแกอย่างสดใส ณ ที่ทำการไปรษณีย์เมืองวูซเบิร์ก (เยอรมัน) แกต้องการส่งของขวัญไปให้นักฟิสิกส์ทั่วยุโรปที่เป็นงานเขียนของแก (ตีพิมพ์ไปในเจอร์นอลวิทยาศาสตร์การแพทย์ปีที่แล้วละนะ ไม่ต้องห่วง)
.
เมื่อของขวัญถึงมือผู้รับ เรื่องราวของรังสีชนิดใหม่นี้ก็แพร่สะพัดไปทั่วทุกหัวระแหง ได้ลงนิตยาสาร วารสารและหนังสือพิมพ์ประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ถูกแปลไปไม่รู้กี่ภาษาแล้ว ดังจนถึงขั้นที่ได้รับเชิญจากจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ให้ไปนำเสนอผลงานต่อหน้าพระพักตร์เลยเด้อออออ
.
มีภาคเอกชนได้มาหาโอกาสในการแสวงหากำไรจากการค้นพบรังสีเอกซ์นี้โดยให้แกเอารังสีเอกซ์ไปจดลิขสิทธิ์ทางปัญญาแล้วให้สิทธิ์ในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์กับบริษัทใหญ่ๆ แต่คุณเรินต์เกนปฏิเสธไปพร้อมกับให้เหตุผลว่า
.
“สิ่งที่เขาค้นพบนั้นเป็นของมวลมนุษยชาติ มันจะต้องไม่ถูกควบคุมด้วยสิทธิ การอนุญาต หรือสัญญาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”
.
โอ๊ยย ใจหล่อไม่ไหวแล้ว
.
และในปี 1901 เพื่อเป็นเกียรติแห่งการค้นพบรังสีเอกซ์จุดเริ่มต้นสำคัญของรากฐานวิทยาการรังสีทางการแพทย์จนถึงปัจจุบัน คุณเรินต์เกนก็ได้รับเกียรติสูงสุดคือรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (คนแรกของโลกเลยนะคะ สำหรับสาขานี้) ลองคิดดูสิว่าทุกวันนี้การมีอยู่ของรังสีเอกซ์มันมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษาโรคขนาดไหน จริงๆ ยังเอาไปใช้ด้านอื่นๆ อีกเพียบเลยนะคะ
.
ในวันนี้ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณเรินต์เกน ทางฟิสิกส์ฟาร์มก็ขอร่วมรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ทางวิชาการ และความใจดีของคุณเรินต์เกน มา ณ โอกาสนี้ด้วย
.
มีใครอยู่ทีมอ่านจบบ้าง อ่านแล้วเมนต์หน่อยว่ารู้สึกยังไงกับคุณเรินต์เกนกันบ้าง
.
สำหรับเรานะ เรารู้สึกว่าเค้าเจ๋งมาก อดทนมาก ฉลาดปราดเปรื่อง ใจดี เราเขียนบทความของเค้าไปเรายังขนลุกไปเลยอ่ะ
ซาบซึ้งกับน้ำใจของเค้าที่มีต่อโลกใบนี้ อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เจ๋งแบบเค้าบ้างเลย
.
ในวาระสุดท้ายของคุณเรินต์เกน เพราะโดนรังสีจากการทำวัยเยอะ ก็เลยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งไป รังสีพวกนี้อันตรายใช่ย่อยนะจ๊ะ
ใครที่ต้องทำงานกับรังสีก็ขอให้ใส่เครื่องป้องกันและปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังกันน้าาา เป็นห่วง

𝗪𝗶𝗹𝗵𝗲𝗹𝗺 𝗖𝗼𝗻𝗿𝗮𝗱 Röntgen บุรุษผู้กดชัตเตอร์ภาพถ่ายแห่งความตายเป็นครั้งแรกของโลก Read More »

Pierre-Simon Laplace | ลาปลาซแห่งฝรั่งเศส

22 ปี หลังจากเซอร์ไอแซค นิวตัน ได้จากโลกนี้ไป ใน ค.ศ. 1749 ได้มีเด็กคนหนึ่งเกิดมา เพื่อจะกลายเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งโลกวิชาการ คนที่ทั่วทั้งยุโรปจะเรียกเขาว่า “#นิวตันแห่งฝรั่งเศส

.

ใช่ค่ะ เรากำลังพูดถึง Pierre-Simon Laplace หรือคุณ #ลาปลาซ ผู้เป็นตำนานแห่งพหูสูตชาวฝรั่งเศส ทั้งวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ คือ เก่งไปทุกวงการเลยจริงๆ ค่ะ

.

ย้อนกลับไปในวันที่ 23 มีนาคม 1749 เด็กชายเกิดมาที่เมืองนอร์มังดี ครอบครัวมีคุณพ่อเป็นเจ้าของฟาร์มเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินของขุนนาง (มาร์ควิส) แถมเป็นพ่อค้าแอปเปิลไซเดอร์รายได้ดี ส่วนคุณแม่ก็ช่วยทำเกษตร ฐานะทางบ้านเรียกได้ว่าไม่ขัดสนอะไร

.

เด็กชายลาปลาซเติบโตขึ้น และได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่คุณพ่อตั้งใจจะให้ลูกชายโตไปเป็นนักเทศน์ในโบสต์คาธอลิก เลยส่งไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยก็องแห่งนอร์มังดี ด้านศาสนศาสตร์ และที่นี่เอง โชคชะตาแห่งคณิตศาตร์ของเขาได้เริ่มต้นขึ้น

.

ตอนเรียนมหาวิทยาลัยคุณลาปลาซได้เจอกับอาจารย์คณิตศาตร์สองท่าน คือ อ.Christophe Gadbled และ อ.Pierre Le Canu

.

ทั้งสองเป็นคนสอนที่มีความกระตือรือร้นมาก สอนไปสอนมาก็เลยพบช้างเผือกเข้า นั่นคือพบว่าคุณลาปลาซเรียนรู้ได้เร็วและเข้าใจเรื่องยากๆ โหดๆ ได้ง่ายๆ เลย

.

การเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ก็เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องไปยัดไปบังคับ (อยากเรียนรู้โหมดนี้กะเค้าบ้างน่ออออ) ไม่ทันไร คุณลาปลาซก็เริ่มที่จะเขียนเปเปอร์ทางคณิตศาสตร์เองได้

.

เอ๊ะ! เดี๋ยวนะคะ มาเรียนเป็นนักเทศน์ ไหงตอนนี้พบรักกับคณิตศาสตร์ไปซะแล้วววว

.

คุณลาปลาซได้เขียนบันทึกความรู้ทางคณิตศาตร์ที่ไปเข้าตานักคณิตศาตร์มืออันดับต้นๆ ของโลกในยุคนั้นอย่างคุณลากรอง ซึ่งตอนนั้นแกโด่งดังถึงขั้นเป็นผู้ออกพิมพ์หนังสือ journal วิชาการเอก

.

และงานของคุณลาปลาซก็ได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ลงในนิตยสารของคุณลากรอง เรื่องราวโด่งดังไปทั่วฝรั่งเศส แต่ทางโบสถ์เองก็ไม่ค่อยปลื้มนะคะ การเลือกเดินทางสายคณิตศาตร์มันทำให้โบสถ์สูญเสียคนเก่งไปนี่เนอะ

.

อ.Pierre Le Canu เห็นถึงความปังปุริเย่ของศิษย์ตัวเอง จึงอยากให้คุณลาปลาซได้เฉิดฉายกว่านี้ (พระคุณครูจริงๆ ค่ะ) จึงได้เขียนจดหมายแนะนำตัวให้คุณลาปลาซเข้าไปเรียนต่อยังกรุงปารีส ซึ่งคนที่ อ.Canu เขียนถึงคือคุณ d’Alembert (ดาล็องแบร์ คนไทยชอบอ่านเป็นดีแลมเบิร์ท แหะๆ) ซึ่งคนนี้คือเจ้าพ่อคณิตศาตร์-วิทยาศาสตร์ของฝรั่งสมัยนั้นเลยค่ะ

.

ไปถึงก็แบบ เอ๊ะ อิเด็กน้อยนี่อายุเพิ่ง 19 เอง (เทียบอายุประมาณเพิ่งเข้าปี 1) มันจะเก่งขนาดที่จดหมายแนะนำตัวบอกจริงเหรอ? คุณดาล็องแบร์ก็ไม่ค่อยเชื่อเท่าไร แกเลยลองภูมิคุณลาปลาซ ทั้งเอา textbook เรื่องยากๆ ที่คนเค้าอ่านกันเป็นเดือนกว่าจะเข้าใจมาให้อ่าน คุณลาปลาซอ่านสัปดาห์เดียวก็ถามตอบได้หมด หรือการให้โจทย์ที่ยากมากๆ คิดว่าต้องแก้กันเป็นสัปดาห์

.

ปรากฎคุณลาปลาซก็ทำได้ภายในคืนเดียว

.

โอ้แม่เจ้า เด็กนี่มันสุดยอดจริงๆ คุณดาล็องแบร์ถึงกับบอกว่า จดหมายแนะนำอ่ะเอาทิ้งไปเลย ชั้นไม่สนใจ เพราะจริงๆ เธอคือเก่งมาก เก่งมาก ปังมาก จนไม่ต้องมีจดหมายแนะนำตัวเลยก็ได้

.

คุณลาปลาซทำงานกับคุณดาล็องแบร์และได้รับความไว้วางใจ จนคุณดาล็องแบร์ถึงกับใช้บารมีของตัวเองหาตำแหน่งอาจารย์ที่โรงเรียนทหารของฝรั่งเศสให้คุณลาปลาซ ทั้งสอนทั้งทำวิจัย ส่งเปเปอร์ไปให้เลขาฯ ของ Paris Academy แบบรัวๆ (อารมณ์ประมาณราชบัณฑิตบ้านเรา)

.

จนเลขาฯ ถึงกับเมาท์ว่า ไม่เคยเห็นใครส่งผลงานที่สำคัญมากมายหลายชิ้น ส่งมารัวๆ แถมยังในเวลาสั้นๆ อีก ซึ่งผลงานที่ส่งคือมีคุณภาพมากค่ะ ได้รับเลือกตีพิมพ์บ่อยๆ จนจุดท้ายก็ได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิกของ Paris Academy

.

ซึ่งตอนนั้นอายุคุณลาปลาซยังแค่ 24 ปีเองนะ (อารมณ์เพิ่งจบ ป.ตรีมาได้สองสามปี)

.

คุณลาปลาซมีผลงานวิชาการทางคณิตศาสตร์เยอะไปหมด ไม่ว่าจะเป็นสมการลาปลาซ การแปลงลาปลาซ ตัวดำเนินการดิฟเฟอเรนเชียลลาปลาซก็ได้ตั้งชื่อขึ้นมาตามชื่อของเขานั่นเอง

.

(คิดดูสิคนอะไรมีตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ชื่อของตัวเองอ่ะ)

.

นอกจากคณิตศาสตร์แล้ว ยังมีผลงานทางด้านดาราศาสตร์ฟิสิกส์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นสมมติฐานเนบิวลาที่ก่อเกิดระบบสุริยะขึ้นมา หรือการเสนอแนวคิดเรื่องหลุมดำ ทอปปิคที่โด่งดังมากๆ ในยุคสมัยนั้นคงจะเป็นเรื่อง การพิสูจน์การคงสภาพของระบบดาวเคราะห์ เราจะมาเมาท์เรื่องนี้กันสักหน่อยเนอะ

.

เรื่องราวมันเริ่มต้นขึ้นจากคุณ Edmond Halley (นักดาราศาสตร์ชื่อดังที่ค้นพบดาวหางฮัลเลย์อ่ะค่ะ) ได้สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดีมีแนวโน้มผิดปกติ

.

คือดาวเสาร์มีการเคลื่อนหนีห่างจากดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆ ส่วนดาวพฤหัสบดีก็เคลื่อนเข้าหาดวงอาทิตย์ไปเรื่อยๆ ด้วยการประเมินค่าทางคณิตศาสตร์จึงพบว่า มีความผิดปกตินี้เกิดขึ้นจริง

.

สาเหตุน่าจะมาจากแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ เมื่อลาปลาซได้อ่านงานตีพิมพ์นี้จึงคิดจะแก้ปัญหานี้ต่อ ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน นักคณิตศาตร์ชื่อดังอย่างออยเลอร์ หรือลากรองเองก็พยายามแก้ปัญหานี้ แต่ยังไม่สำเร็จ

.

คุณลาปลาซย้อนไปที่ความรู้ซึ่งตั้งต้นมาจากนิวตัน นั่นคือกฎแห่งแรงดึงดูดสากลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน นิวตันได้นำกฎนี้ไปพิสูจน์กฎการโคจรของเคปเลอร์ จนทำให้เราสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะได้

.

ทั้งๆ ที่นิวตันเป็นคนคิดค้นแคลคูลัส ตอนนิวตันตีพิมพ์ผลงานของตัวเอง เขากลับไม่ใช้แคลคูลัสมาอธิบายปรากฎการณ์ทางดาราศาสตร์เหล่านี้

.

แต่กลับเลือกใช้การให้เหตุผลทางเรขาคณิตเป็นตัวอธิบาย เมื่อต้องอธิบายผลที่เกิดขึ้นจากปฎิสัมพันธ์ระหว่างดาวเคราะห์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

เรขาคณิตก็เริ่มที่จะให้คำอธิบายไม่ได้ เกิดเป็นข้อจำกัดขึ้น

.

คุณลาปลาซได้นำเอาแนวคิดของนิวตันมาใช้แคลคูลัสในการหาคำตอบ ตอนแรกเขาได้อ่านงานเขียนของคุณออยเลอร์และลากรองที่พยายามแก้ปัญหานี้แต่ไม่สำเร็จ

.

เขาพบว่าทั้งสองท่านใช้การประมาณที่ทำให้เกิดการละพจน์การคำนวณเล็กๆ น้อยๆ บางพจน์ออกไป คุณลาปลาซมองว่าปัญหาอยู่ตรงนี้แหละ แม้พจน์ต่างๆ ที่ละไป เมื่อมองทีละพจน์ดูจะเป็นผลเล็กน้อยที่ไม่ได้สลักสำคัญอะไร แต่เมื่ออินทิเกรตกลับมา (รวมผลกลับมา) มันกลายเป็นผลที่มีความสำคัญต่อการคำนวณ

.

คุณลาปลาซใช้ความรู้ทางฟิสิกส์สร้างสมการทางคณิตศาสตร์ด้วยแคลคูลัสชั้นสูง ประกอบไปด้วยสมการอนุพันธ์กำลังสอง 9 สมการ ที่มีค่าคงตัว 18 ค่า ซึ่ง 12 ค่าหาได้จากการวัดความเร็วของดาวในวงโคจร

.

ที่อยากจะขิงมากๆ คือ ทุกอย่าง “ทำมือ” นะคะ ไม่มี excel หรือคอมพิวเตอร์ช่วย

.

จะในที่สุด คุณลาปลาซก็ได้ข้อสรุปว่า ถึงแม้ในบางช่วงเวลาดาวเคราะห์จะเคลื่อนที่ผิดไปจากปกติ แต่ในระยะยาวระบบสุริยะก็มีเสถียรภาพ คือ ระบบของเราจะไม่แตกดับบุบสลายหายต๋อมค่ะ !! (ตอนนั้นเขาคงกลัวดาวเคราะห์จะชนกัน ถ้าวงโคจรมันเดี๋ยวก็เหวี่ยงเข้าๆออกๆ)

.

โอ๊ยสบายใจค่ะ โลกไม่แตกเพราะโดนชนด้วยการคำนวณคุณลาปลาซ

.

หลังจากนั้นความรู้ชุดนี้ก็ได้ถูกเขียนออกมาเป็นตำราชื่อ Mecanique celeste เป็นซีรีส์ที่ยาวถึง 5 เล่ม หนังสือนี้ทำให้กฎแห่งแรงดึงดูดสากลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ได้รับความเชื่อมั่นจากทั่วโลกว่าถูกต้องและสมบูรณ์ดีทุกประการ

.

แต่ขอบอกไว้ก่อนนะคะ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านยากมากๆ แถมคนเขียนยัง “ขี้ขิง” อีกต่างหากค่ะ ถ้าใครได้ไปอ่านนะคะ จะเจอข้อความว่า “มันเป็นเรื่องง่ายที่จะแสดงให้เห็นว่า….” ปรากฎในหนังสือบ่อยมากข่าาาาา แหม ง่ายขอคุณพี่อิชั้นอ่านแปดรอบยังไม่เก็ทก็มีค่ะ

.

เอาจริงๆ ผลงานของลาปลาซยังมีอีกเยอะมาก คิดว่าเขียนเล่ายาวกว่านี้คงโดนคนอ่านด่าว่าเขียนอะไรของ_ึงเยอะแยะฟระ

เช่นๆๆ สักหน่อยละกัน

.

– ทฤษฎีความน่าจะเป็นที่ใช้คำนวณประชากรของทั้งประเทศฝรั่งเศสแบบไม่ต้องไปนั่งนับทีละคน

-ร่วมงานกับ Antoine Lavoisier (เจ้าของกฎทรงมวลในวิชาเคมี) ศึกษาเรื่องความร้อนและร่วมกันประดิษฐ์คาลอริมิเตอร์

-ทฤษฎีไดนามิกของกระแสน้ำ อธิบายว่าของมหาสมุทรตอบสนองต่อแรงน้ำขึ้นน้ำลงยังไง พร้อมด้วยสมการน้ำขึ้นน้ำลงของลาปลาซ

-ทฤษฏีทางสถิติและความน่าจะเป็นแบบอุปนัย

ฯลฯ

.

โอ๊ยเขียนไม่ไหวแล้วค่ะแม่ เอาเป็นว่าเยอะ และหลายวงการมากๆ จนเค้าเรียนว่าเป็น “นิวตันแห่งฝรั่งเศส” อ่ะคุณผู้โช้มมมมม

.

ความเก่งกาจทางวิชาการของเขาทำให้คุณลาปลาซได้รับการยอมรับในวงกว้าง พี่แกจึงเริ่มเข้าสู่การเมือง ซึ่งฝรั่งเศสคือการเมืองแรงมากกกกกกกก

คุณลาปลาซเข้าเล่นการเมืองจนฝรั่งเศสเดินทางเข้าสู่ “การปฏิวัติใหญ่”

.

ตอนนั้นคือประชาชนลากเอาขุนนางหรือราชวงศ์ที่พวกเขาเกลียดชังมาประหารที่เครื่องบั่นคอกิโยติน จำกันได้มั๊ยคะ หวาดเสียวเวอร์

คุณลาวัวซิเย Lavoisier ก็เป็นหนึ่งในคนที่โดนกิโยตินบั่นคอค่ะ กรี๊ดดดด แล้วคุณลาปลาซจะรอดมั๊ย!?

.

รอดค่ะ! มีอยู่ช่วงหนึ่งที่คุณลาปลาซอยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมาด่ากษัตริย์และราชวงศ์อย่างรุนแรง แกอาศัยผลจากตรงนี้ว่าแกอยู่ฝ่ายประชาชนนะ

.

ก็เลยรอดจากเครื่องประหารแต่ก็โดนปลดออกมาจากตำแหน่งการเมืองต่างๆ ค่ะ เรียกว่าพี่แกอยู่เป็นเนอะ

.

ต่อมาเมื่อนโปเลียนยึดอำนาจได้ คุณลาปลาซก็ออกมาสนับสนุนนโปเลียนอย่างออกหน้าออกตาเลยค่ะ (โคตรจะอยู่เป็น)

.

พอนโปเลียนหมดอำนาจ ราชวงศ์ Bourbons กลับคืนสู่บัลลังก์ คนอื่นยังกระด้างกระเดื่องกับกษัตริย์อยู่ แต่คุณนโปเลียนเป็นคนแรกๆ เลยค่ะ

ที่คุกเข่าให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 กุลีกุจอถวายตัวเป็นข้ารับใช้ (โอ๊ย อยู่เป็นโคตรๆ)

.

เอาจริงๆ ถ้าเป็นพวกเราจะทำแบบไหนกันคะ กลับไปกลับมาเพื่อให้ตัวเองและครอบครัวอยู่รอด หรือจะทะนงในศักดิ์ศรีแล้วยอมตาย ตัดสินใจยากอยู่นะคะ

.

ตลอดช่วงชีวิตของคุณลาปลาซ คนที่ได้ทำงานร่วมกับแกต่างเป็นเป็นเสียงเดียวกันว่าแกอัธยาศัยดีกับผู้ร่วมงานค่ะ เราจะเห็นชื่อคุณลาปลาซไปโผล่กับนักวิทยาศาสตร์คนนั้นคนนี้ตลอด เช่น แกทำแล็บเรื่องการเลี้ยวเบนของแสงร่วมกับ Francois Arago ศึกษาเรื่องปรากฎการณ์โพลาไรเซชันกับกับ Jean Biot ศึกษาเรื่องแก๊สกับ Joseph Gay-Lussac และอีกมากมาย

.

ในด้านชีวิตครอบครัว คุณลาปลาซตอนอายุ 39 ปีได้แต่งงานกับหญิงสาวที่อายุเพียง 19 ปี และมีบุตรด้วยกันเป็นชายหนึ่งหญิงหนึ่งค่ะ ในช่วงท้ายของชีวิตได้อพยพออกจากปารีสไปอยู่ที่เมือง Arcueil มีคนบันทึกว่าในห้องทำงานของคุณลาปลาซมีภาพของเซอร์ไอแซค นิวตัน แขวนคู่กับ Racine นักประพันธ์ที่แกชื่อชอบ และคุณลาปลาซได้จากโลกนี้ไปเมื่อ 5 มีนาคม 1827 ก่อนจะถึงวันเกิดปีที่ 78 ของแกแค่สองอาทิตย์เอง

.

เรียกได้ว่าความเก่งราวปาฏิหาริย์ของแกนั้นทำให้โลกได้พบเจอกับองค์ความรู้ใหม่ พาผู้คนไปสู่อนาคต คนที่เรียนสายวิศวกรรม คณิต สถิติ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ และปรัชญาน่าจะต้องคุ้นชินกับชื่อ “ลาปลาซ” นี้เป็นอย่างดี

.

ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิดแกปีนี้ ฟิสิกส์ฟาร์มก็เลยพาทุกคนมาร่วมรำลึกถึงแกกันเสียหน่อย

.

ขอให้ความรู้ของโลกใบนี้เติบโตไปข้างหน้า

พร้อมกับศีลธรรมของผู้คน

.

พี่ฟาร์มมี่

.

#วันสำคัญ#นักวิทยาศาสตร์#สาระน่ารู้#ความรู้รอบตัว#วิทย์ที่คุณไม่รู้

Pierre-Simon Laplace | ลาปลาซแห่งฝรั่งเศส Read More »

Download ชีท | ฟิสิกส์ A-level กันวันละข้อ ปี 55

📍#DEK67 #DEK68 สายฟิต มาติดตามคลิปวีดีโอ Youtube จากพี่ฟาร์ม ในซีรีส์ ฟิสิกส์ A-level กันวันละข้อ เพิ่มความแข็งแกร่งสุดจึ้ง~

Youtube

Download ชีท | ฟิสิกส์ A-level กันวันละข้อ ปี 55 Read More »

รู้วิทย์ให้เข้าใจ – ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ?

จากเหตุแผ่นดินไหวตุรกี (หรืออีกชื่อ ตุรเคีย) – ซีเรีย ครั้งใหญ่ ขนาด 7.8 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2023 ที่ผ่านมานี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจำนวนมาก ฟิสิกส์ฟาร์มของแสดงความเสียใจกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นและขอร่วมไว้อาลัยแด่ผู้ล่วงลับด้วยครับ

น้องๆ อาจเกิดคำถามว่า ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ?

เพราะเราอาจไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเหตุที่เกิดกับประเทศนี้สักเท่าไร …​โดยเรามักได้ข่าวแผ่นดินไหวทางญี่ปุ่น จีน พูดง่ายๆ คือในเอเชียโซนตะวันออกใกล้บ้านเราเสียซะมากกว่า เพราะเราอาจไม่ค่อยได้ยินข่าวเกี่ยวกับเหตุที่เกิดกับประเทศนี้สักเท่าไร …​โดยเรามักได้ข่าวแผ่นดินไหวทางญี่ปุ่น จีน พูดง่ายๆ คือในเอเชียโซนตะวันออกใกล้บ้านเราเสียซะมากกว่า ซึ่งถ้านับขนาดใหญ่หน่อย (ขนาด 4 ขึ้นไป) ก็เจอไปถึง 332 ครั้ง แล้ว

แปลว่า ตุรกีเป็นประเทศที่ประสบเหตุแผ่นดินไหว “บ่อยมาก”
และสาเหตุก็คือเพราะว่า  “ตุรกีตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก 4 แผ่น” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณแนวรอยต่อของภูเขาแอลป์-หิมาลัย (ระบบเทือกเขาแอลป์-หิมาลัย: Alpide belt)

แผ่นเปลือกโลกทั้งสี่ได้แก่…

แผ่นเปลือกโลกทั้งสี่ได้แก่ 1. แผ่นเปลือกโลกอนาโตเลียน (Anatolian microplate) ซึ่งพื้นที่ตุรเคียเกือบทั้งหมดตั้งอยู่ รอบๆ นั้นถูกล้อมไปด้วยเปลือกโลกแผ่นใหญ่อีกสองแผ่นคือ …
แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียน (Eurasian tectonic plate) และ 3. แผ่นเปลือกโลกแอฟริกัน (African tectonic plate) นอกจากนี้ ทางตะวันออกของประเทศ ยังมี 4. แผ่นเปลือกโลกอาระเบียน (Arabian tectonic plate) ซึ่งดินแดนซีเรียก็อยู่บนแผ่นเปลือกโลกนี้
นั่นทำให้ตุรเคียตั้งอยู่บนบริเวณที่อ่อนไหวต่อการเกิดแผ่นดินไหวมากๆ เพราะอยู่บนรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก (fault) เต็มๆ

เหตุการณ์ในครั้งนี้ จุดเกิดเหตุอยู่ที่รอยเลื่อนอนาโตเลียตะวันออก (East Anatolian Fault) ที่อยู่ระหว่างแผ่นโลกอนาโตเลียนกับแผ่นโลกอาระเบียน รอยเลื่อนนี้จัดเป็นรอยเลื่อนประเภทรอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) แผ่นโลกอนาโตเลียนเคลื่อนทิศทวนเข็มนาฬิกา ในขณะที่แผ่นอาระเบียนก็ผลักในทิศสวนทาง แล้วก็ดันให้แผ่นอนาโตเลียนไปชนกับแผ่นยูเรเซียนอีกที !!! เรียกได้ว่า กระทบ-กระแทก-กระทั้น-สนั่นหวั่นไหวไปมา …จนเกิดการไหวสะเทือน กลายเป็นแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในครั้งนี้


สำหรับประเทศไทยเรา

แม้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็น “รอยเลื่อนซึ่งไม่มีพลังแล้ว” แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวอยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะที่ภาคเหนือในช่วงจังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และแพร่
พี่หวังว่า การเรียนรู้จากเรื่องราว/ บทเรียนของประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยให้เราเกิดความเข้าใจ และต่อยอดเป็นการเตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดวิกฤตกาลแผ่นดินไหวหรือธรณีพิบัติภัยประเภทต่างๆในอนาคตได้ ไม่มากก็น้อย

รู้วิทย์ให้เข้าใจ – ทำไมแผ่นดินไหวไปเกิดที่ตุรกีหนักขนาดนี้ ? Read More »

#DEK71 เก่งได้ตั้งแต่ซัมเมอร์ ม.4 สมัครเรียนฟิสิกส์แบบ 2 เทอม (PACK DUO M4) รับเลย! ส่วนลดค่าเรียน >>>

X