#อ่านไปไม่มีหลง (ตอนที่ 1/2) สำหรับทุกคนที่สอบ TPAT3 ลองมาเทียบคะแนนตัวเอง เพื่อดูตำแหน่งการแข่งขันโดยประมาณของตัวเองกันนะคะ
บทความนี้ มีด้วยกัน 2 ตอน ตอนแรกจะช่วยสร้างมุมมองว่า จากคะแนนสอบที่เรามี เราอยู่จุดไหนของการแข่งขัน ส่วนตอนที่สอง (มาพรุ่งนี้) จะบอกน้องว่า เราจะต้องตั้งเข็มทิศการเดินทางยังไง เพื่อพาตัวเองไปสู่เป้าหมาย พร้อมแล้วมาเริ่มกันเลยค่ะ
.
จากผลคะแนน TPAT3 ที่ออกมาแล้ว ~!! รู้สึกยังไงกันบ้างคะ โอเคกันป่าวน้า
.
ไม่ว่าเราจะได้คะแนนเท่าไหร่นะคะ คำถามสำคัญที่เราควรจะถามตัวเองต่อมาก็คือ คะแนนที่เรามีอยู่ในมือ มัน “โอเคไหม” ~!!
แล้วเราจะตัดสินยังไงกันดี
.
พี่ฟาร์มชวนน้องๆ มาลองดูหนึ่งในมุมมองที่น่าสนใจ …นั่นคือ ถ้าเรามองว่าคะแนนสอบครั้งนี้มีการแจกแจงแบบปกติ (งานสถิติเข้าแล้วหนึ่งงงง)
.
เราจะพบว่าคนส่วนใหญ่ได้คะแนนอยู่ที่ประมาณ 46 คะแนน (ดูจากค่าเฉลี่ย) และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ 11.8
.
สมมติว่าถ้าเรามีคู่แข่ง 100 คนในการสอบเข้า วิชาสถิติสอนเราว่า
– ถ้าเราได้คะแนนที่ค่าเฉลี่ย (46 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่ง 50 คน
– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 0.5SD (52 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 69 คน
– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 1.0SD (58 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 84 คน
– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 1.5SD (63.5 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 93 คน
– ถ้าเราได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยมา 2.0SD (69 คะแนน) เราจะมีแรงกิ้งอยู่เหนือคู่แข่งอยู่ประมาณ 98 คน
.
จะเห็นว่าคะแนนที่ต่างกันเพียงไม่กี่แต้ม กลับทำให้ตำแหน่งทางการแข่งขันขยับห่างกันออกไปได้ไกลพอสมควรเลย
.
ดังนั้นลองดูว่าคะแนนของเรานั้นอยู่ที่ช่วงไหนนะคะ มุมมองแบบนี้น่าจะมีประโยชน์กว่าการตีความว่ามากน้อย เพราะเราก็พูดยากว่าอะไรคือมากหรือน้อยเนอะ
.
พอรู้แล้ว ทีนี้ยังไงต่อกันล่ะ?
พี่แนะนำให้น้อง “มองไปข้างหน้าครับ”
.
คะแนนสอบที่ออกมาแล้ว เราทำอะไรแทบไม่ได้แล้วครับ แต่สิ่งที่ยังไม่ได้สอบ ก็คือฟิสิกส์ A-LEVEL
อันนี้เรายังวาดลวดลายให้กับมันได้เต็มที่
โดยบริหารเวลาที่เหลือให้ดี
“เลือก” และ “ทำ” เฉพาะสิ่งจำเป็นให้กับตัวเอง
.
แล้วน้องจะต้องทำคะแนนสอบฟิสิกส์อีกเท่าไหร่ มาติดตามกันตอนหน้านะคะ พี่มีคำตอบ
ด้วยรัก
จากพี่ฟาร์ม
——————