- เปิดใช้สกิล “ประเมิน” สกัดหาข้อที่ทำได้ก่อน
อ่านคำถามไล่ไปในแต่ละข้อ คอย “ประเมิน” ว่าข้อนี้เราน่าจะทำได้จนได้คำตอบสุดท้ายไหม ถ้าคิดว่าไม่ไหว ทำเครื่องหมายไว้แล้วข้ามไปข้อต่อไปเลยทันที เมื่อถึงข้อใหม่แล้วก็ให้ “ประเมิน” เหมือนเดิม หากเจอข้อที่คิดว่าโกยคะแนนได้ อาจจะไม่ยาก หรือยากแต่เราเตรียมมาตรงแนว หรือเฉียดๆ แล้วนึกประยุกต์ได้ ก็ให้ลงมือทำทันที
- ทำยังไงเมื่อติด “สตั๊นท์”
บางข้อ เราตัดสินใจทำแล้ว แต่พอทำๆ ไป ติดสตันท์ ไปต่อไม่ได้ ให้พยายามอีกสัก 1-2 try (ห้ามนาน) ถ้ายังติดอยู่ ให้รีบ “ข้าม” ข้อนั้น ไปหาข้อต่อไปทันที ถ้าเจอข้อที่ยังไงก็ทำไม่ได้แน่ๆ แบบว่าเจอแล้วฉันนี่ร้องกรี๊ดเลย (ขอเรียกว่าข้อบ้ง) ให้ทำเครื่องหมายพิเศษไว้ด้วย
- วนรอบสอง หา “ปลาใหม่”
เมื่อวนทำข้อที่ทำได้จนหมด ค่อยมาเริ่มแกะข้อที่เราติดเอาไว้จากการวนรอบแรก เราจะเจอบางข้อที่แกะได้ แต่ใช้เวลากับมันเยอะหน่อย ก็มาจัดการกับข้อสอบกลุ่มนี้ ข้อไหนบ้งหนักๆ ข้ามไปก่อนเลยนะ จะเก็บแต้มได้มากขึ้นก็จากรอบนี้แหละ
- ดอนท์ แพนิค กับข้อบ้งทั้งหลาย
พึงระลึกว่า ข้อสอบบางข้อก็ยากแบบทดสอบหาตัวแทนโอลิมปิคดาวอังคาร อุเบกขาค่ะท่องไว้ คือช่างมัน เราเก็บส่วนที่เก็บได้แล้วเอาส่วนนี้ให้แม่น เราซ้อมมาดีแล้ว ท่องไว้ ท่องไว้ ไอ แฮฟ สติ !
- กันเวลาไว้สำหรับการตรวจคำตอบ
ข้อที่ทำได้ทั้งหมดทุกข้อ ควรเอามา “ผ่านตา” เพื่อทวนสอบความถูกต้องอีกครั้ง โดยเฉพาะฟิสิกส์ เราต้องเช็คว่าคำตอบเราเป็นไปได้จริง ไม่ขัดแย้งธรรมชาติ หรือไม่ละเมิดเงื่อนไขบังคับที่โจทย์สั่งไว้
- บริหารเวลาด้วยสัญชาตญาณที่ได้มาจากการฝึก
ก่อนเข้าห้องสอบ เราจะพอทราบว่าข้อสอบมีกี่ข้อ ให้เวลาเท่าไร ทำให้เราพอกะได้ว่าเราควรใช้เวลาแต่ละข้อประมาณไหน แต่ไม่ต้องคุมเวลาในทุกๆ ข้อนะ เวอร์ไป พี่คิดว่าเรากะคร่าวๆ เช่น ข้อสอบมี 30 ข้อ เวลา 90 นาที หมายถึงถ้าเวลาผ่านไป 1 ใน 3 เราก็ควรทำข้อสอบผ่านไปได้ประมาณ 10 ข้อแล้ว ก็เงยหน้าดูนาฬิกาเป็นพักๆ เอา ซึ่งสกิลนี้จริงๆ อยากให้ฝึกตั้งแต่ตอนหัดทำข้อสอบจับเวลาไว้เลย เราจะมีสัญชาตญานดูเวลาติดตัว ส่วนใหญ่ถ้าเรารู้จักเลือกทำข้อง่ายก่อน แล้วค่อยมาเก็บข้อยาก สายตาเราจะผ่านข้อสอบแทบทุกข้อทันอยู่แล้ว และเราจะประเมินได้ว่าข้อไหนควรเก็บควรข้ามเพื่อให้อย่างน้อยๆ คือ ข้อที่เราทำได้ เราทำมันได้ทันทุกข้อ เหลือแต่ข้อที่ทำไม่ได้ไว้แบบนี้ นิดหน่อย คะแนนสวยแน่ๆ