fbpx

𝗪𝗶𝗹𝗵𝗲𝗹𝗺 𝗖𝗼𝗻𝗿𝗮𝗱 Röntgen บุรุษผู้กดชัตเตอร์ภาพถ่ายแห่งความตายเป็นครั้งแรกของโลก

27 มีนาคม วันเกิด เรินต์เกน
.
𝗪𝗶𝗹𝗵𝗲𝗹𝗺 𝗖𝗼𝗻𝗿𝗮𝗱 Röntgen บุรุษผู้กดชัตเตอร์ภาพถ่ายแห่งความตายเป็นครั้งแรกของโลก
.
(ใครเป็นทีมอ่านจบ กด 1 ไว้ในคอมเมนต์เช็คชื่อเข้าเรียนกันนะคะ อิอิ
.
ในสมัยก่อนยุคการแพทย์จะเจริญก้าวหน้าขนาดนี้ การจะมองเห็นโครงสร้างในร่างกายมนุษย์มีแต่จะต้องรอให้เป็น “ศพ” เสียก่อน แล้วจึงเอามา “ผ่า” หรือ “ชำแหละ” เปิดร่างและชิ้นส่วนต่างๆ ออกมา จึงจะรู้ว่าข้างในเป็นยังไง จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1895 นักฟิสิกส์ที่ทั้งเก่งและเฮงคนหนึ่ง (เรื่องนี้มีโชคมาเกี่ยวข้องด้วยค่ะ) ได้ค้นพบรังสีชนิดใหม่ของโลก และเขาได้นำมันมาแสดงปรากฎการณ์ด้วยการถ่ายภาพ “มือ” ที่ “มองเห็นไปถึงกระดูก” โดยไม่ต้องรอให้ตายแล้วผ่าตัดเปิดร่างออกมา ภาพดังกล่าวจึงเสมือนเป็นภาพถ่ายแห่งความตายอันแสนมหัศจรรย์
.
เรื่องราวของชายคนนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 27 มีนาคม 1845 วันนี้เมื่อ 178 ปีที่แล้ว เป็นวันที่เด็กชายเรินต์เกนลืมตาดูโลกเป็นครั้งแรก เขาเกิดในครอบครัวของพ่อค้าชาวเยอรมันผู้เป็นเจ้าของโรงงานผ้า ตอนเบบี๋น้อยอายุได้ 3 ขวบก็สูญเสียคุณพ่อไป ครอบครัวจึงได้ย้ายถิ่นฐานไปยังเนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นบ้านของญาติฝ่ายแม่ เขาเติบโตและเรียนหนังสือที่นั่น จนกระทั่งตอนอายุ 20 ปี คุณเรินต์เกนถูกไล่ออกจากไฮสคูลเนื่องจากครูจับได้ว่าเขาวาดภาพล้อเลียนครูคนอื่นๆ (ซึ่งมารู้ทีหลังว่าภาพนี้วาดโดยคนอื่นนะคะ โดนไล่ออกไปฟรีๆ แง)
.
พอไม่มีวุฒิว่าจบไฮสกูล การเรียนในระดับมหาวิทยาลัยก็จะเป็นได้แค่ผู้เข้าชม (สถานะ visitor ไม่มีสิทธิ์ได้ดีกรีเลย แง) แต่ถึงอย่างนั้นคุณเรินต์เกนก็พยายามอย่างหนักในการเรียนต่อ จนสุดท้ายก็ได้เข้าเรียนที่เมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (เดิมตั้งใจจะเรียนที่เนเธอแลนด์ แต่เธอไม่รับชั้นเข้าเรียนอ่ะ ฮึ) คุณเรินต์เกนศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกลจนจบปริญญาเอกที่นั่นเลยค่ะ
.
หลักจากนั้นมาคุณเรินต์เกนก็เริ่มเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้มีโอกาสสอนและทำวิจัยในสถาบันดังหลายแห่ง จนกระทั่งปี 1895 … เขาก็ได้ค้นพบกับรังสีประหลาด รังสีชนิดใหม่ของโลก
.
ช่วงปีนั้น คุณเรินต์เกนกำลังศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับหลอดสูญญากาศของนักฟิสิกส์หลายๆ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นของคุณ Heinrich Hertz คุณ Johann Hittorf คุณ William Crookes คุณ Nikola Tesla คุณ Philipp von Lenard ฯลฯ (น้องๆ คุ้นชื่อกันสองสามคนอยู่เนอะ)
.
ก่อนหน้านี้ไม่นาน ที่ประเทศอังกฤษ มีเปเปอร์ตีพิมพ์ของคุณ Crookes เกี่ยวกับการค้นพบรังสีคาโทด (ที่ต่อมารู้กันว่าคือลำอิเล็กตรอน) เมื่อคุณเรินต์เกนทราบข่าว เขาจึงทำการทดลองตาม โดยนำหลอดแก้วที่สามารถสูบอากาศออกได้ เรียกว่า “หลอดเบลนนาร์ด” มาใช้
.
>>เริ่มจากครั้งแรก เมื่อสูบอากาศออกจากหลอดแก้วได้ส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสฟ้าเข้าไป เขาพบการเรืองแสงปรากฏเป็นสีชมพู
>>เมื่อสูบอากาศออกอีกส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้าต่อ ปรากฏว่าเกิดการเรืองแสงเป็นสีน้ำเงินอ่อนๆ
>>และเมื่อสูบอากาศออกอีกส่วนหนึ่งแล้วปล่อยกระแสไฟฟ้า ปรากฏว่าเกิดการเรืองแสงเป็นสีเขียวแกมแดง (ผลที่ได้ออกมานั้นเหมือนกับที่คุณครุกส์ค้นพบเลย)
.
คุณเรินต์เกนสงสัยว่ารังสีคาโทดสามารถผ่านหลอดแก้วสุญญากาศออกมาได้ไหม เขาจึงทำการทดลองต่อและพบว่ามันสามารถทะลุผ่านหลอดแก้วผนังบางได้ (ผนังหนาผ่านไม่ได้)
.
ต่อมาคุณเรินต์เกนใช้กระดาษสีดำทึบห่อผนังหลอดไว้อีกชั้นไม่ให้แสงสว่างลอดเข้าออกได้ แล้วใช้กระดาษแบเรียมแพลติโนไซยาไนด์ (Platinocyanide Paper ทำจากแบเรียม+ทองคำขาวแพลตทินัม) เอามากั้นเป็นฉากหลังหลอด เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปในหลอดก็พบว่าไม่มีแสงใดผ่านออกมาได้เลย .. อ้าวรังสีตะกี๊ของฉันหายไปไหน ??)
.
เอาใหม่ ลองใหม่ แต่ทีนี้ของปิดไฟ ปิดประตูหน้าต่างให้ทุกอย่างมืดสนิท 3..2..1. แอคชั่น ว้าววววว มีแสงเรืองเกิดขึ้นบนฉากกระดาษแบเรียมฯ คร่าาา คุณผู้โช้มมมม
.
แต่พอเปิดไฟ แสงนั้นก็หายไป ยังไงนะมันยังไงนะ
.
คุณเรินต์เกนทำการทดลองซ้ำๆ จนได้ข้อสรุปว่ารังสีที่มองเห็นตอนปิดไฟนั้นไม่ใช่รังสีแคโทด แล้วจะจับมันให้คาหนังคาเขาว่ามีอยู่จริงๆ ได้ยังไงนะ มันดันเรืองแสงแค่ตอนมืด แต่พอสว่างดันมองไม่ได้ไล่ไม่ทันเห็นแบบนี้
.
เขาจึงนึกถึงหลักการของฟิล์มถ่ายรูปค่ะ (น้องๆ ใช้กล้องดิจิตอลกันอาจจะไม่คุ้นกับกล้องฟิล์มนะ แต่ว่าสมัยก่อนคือฮิตมากกกกกกกกก บ้านใครมีคือไฮโซสุด)
.
ปกติฟิล์มจะเคลือบสารไวแสงเอาไว้ เมื่อมีแสงตกกระทบมัน ก็จะเกิดปฏิกิริยาขึ้น ทำให้เกิดเป็นภาพบนฟิล์ม พอเอาไปล้างกับน้ำยาเคมีก็จะเห็นออกมาเป็นภาพสวยงาม
.
คุณเรินต์เกนจึงคิดว่า ถ้าลองเอารังสีไปถ่ายภาพ แทนที่จะให้แสงตกกระทบฟิล์ม ก็เปลี่ยนเป็นเจ้ารังสีนี้ตกกระทบฟิล์มแทน อ่ะลองดูซิ จะได้ภาพสวยงามเหมือนถ่ายรูปเลยมั๊ยยย
.
คุณเรินต์เกนปิดห้องให้มืดสนิท แล้วใช้ฟิล์มมาเป็นฉากแทนกระดาษแบเรียมฯ ปรากฏว่าเมื่อนำฟิล์มไปล้าง คุณพระ!!!!!!! เกิดภาพได้ด้วยยยยยยย$!%^~%!&
.
จากลักษณะฟิล์มที่เหมือนถูกแสงนี้ คุณเรินต์เกนจึงมั่นใจว่าสิ่งที่เขาพบนี้เป็นรังสีชนิดใหม่แน่ๆ แกตั้งชื่อให้มันว่า “รังสีเอกซ์ (X-ray)” หรือ “รังสีเรินต์เกน (Roentgen Ray)”
.
ความว้าวซ่าอเมซิ่งยังไม่จบเพียงเท่านี้ค่ะ เขาลองเอาเจ้ารังสีนี้มาถ่ายภาพวัตถุสิ่งของหลายชนิด ไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง ในขณะที่เขากำลังลองถ่ายมือตัวเอง เขาก็พบว่า….
.
ภาพถ่ายที่ได้คือภาพที่เห็นมือทะลุไปถึงกระดูกกกกกกกก แกรรร๊ ลองนึกสิว่ามันจะน่าตื่นเต้นตกใจ่ขนาดไหน ครั้งแรกของโลกเลยนะ ที่เห็นอะไรแบบทะลวงโครงสร้างแบบนี้
ไม่ต้องกรีด ไม่ต้องผ่า ไม่ต้องเลือด ไม่ต้องตาย ก็เห็นกระดูกข้างในได้ โอ้วมันยอดมากกกก
.
แต่ มือชั้นมันบ่งามเด้อ ด้วยความตื่นเต้นไปกับการค้นพบอย่างกะทันหัน คุณเรินต์เกนอยากจะแชร์ความวิเศษมหัศจรรย์นี้กับคนที่เค้ารักที่สุด จึงได้ตามคุณ Anna Bertha Röntgen ศรีภรรยามา แล้วขอถ่ายรูปมือของเธอซึ่งสวมแหวนแต่งงานอยู่ด้วย (รูปที่อยู่ในโพสต์นี้แหละ) นี่จึงเป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์ของโลก คุณเบอร์ธาถึงกับอุทานตอนเห็นภาพว่า I have seen my death! ใครอยากชมภาพจริงไปชมกันได้ที่ Bavarian State Library ที่เยอรมันเลยนะคะ
.
ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องราวการค้นพบที่ยิ่งใหญ่นี้จะเกิดขึ้นในปี 1895 ปีเดียวเลย พอข้ามมาวันแรกของปีใหม่ในปี 1896 คุณเรินต์เกนได้เริ่มต้นปีใหม่ของแกอย่างสดใส ณ ที่ทำการไปรษณีย์เมืองวูซเบิร์ก (เยอรมัน) แกต้องการส่งของขวัญไปให้นักฟิสิกส์ทั่วยุโรปที่เป็นงานเขียนของแก (ตีพิมพ์ไปในเจอร์นอลวิทยาศาสตร์การแพทย์ปีที่แล้วละนะ ไม่ต้องห่วง)
.
เมื่อของขวัญถึงมือผู้รับ เรื่องราวของรังสีชนิดใหม่นี้ก็แพร่สะพัดไปทั่วทุกหัวระแหง ได้ลงนิตยาสาร วารสารและหนังสือพิมพ์ประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป ถูกแปลไปไม่รู้กี่ภาษาแล้ว ดังจนถึงขั้นที่ได้รับเชิญจากจักรพรรดิวิลเฮ็ล์มที่ 2 ให้ไปนำเสนอผลงานต่อหน้าพระพักตร์เลยเด้อออออ
.
มีภาคเอกชนได้มาหาโอกาสในการแสวงหากำไรจากการค้นพบรังสีเอกซ์นี้โดยให้แกเอารังสีเอกซ์ไปจดลิขสิทธิ์ทางปัญญาแล้วให้สิทธิ์ในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์กับบริษัทใหญ่ๆ แต่คุณเรินต์เกนปฏิเสธไปพร้อมกับให้เหตุผลว่า
.
“สิ่งที่เขาค้นพบนั้นเป็นของมวลมนุษยชาติ มันจะต้องไม่ถูกควบคุมด้วยสิทธิ การอนุญาต หรือสัญญาของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง”
.
โอ๊ยย ใจหล่อไม่ไหวแล้ว
.
และในปี 1901 เพื่อเป็นเกียรติแห่งการค้นพบรังสีเอกซ์จุดเริ่มต้นสำคัญของรากฐานวิทยาการรังสีทางการแพทย์จนถึงปัจจุบัน คุณเรินต์เกนก็ได้รับเกียรติสูงสุดคือรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (คนแรกของโลกเลยนะคะ สำหรับสาขานี้) ลองคิดดูสิว่าทุกวันนี้การมีอยู่ของรังสีเอกซ์มันมีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยและรักษาโรคขนาดไหน จริงๆ ยังเอาไปใช้ด้านอื่นๆ อีกเพียบเลยนะคะ
.
ในวันนี้ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของคุณเรินต์เกน ทางฟิสิกส์ฟาร์มก็ขอร่วมรำลึกถึงความยิ่งใหญ่ทางวิชาการ และความใจดีของคุณเรินต์เกน มา ณ โอกาสนี้ด้วย
.
มีใครอยู่ทีมอ่านจบบ้าง อ่านแล้วเมนต์หน่อยว่ารู้สึกยังไงกับคุณเรินต์เกนกันบ้าง
.
สำหรับเรานะ เรารู้สึกว่าเค้าเจ๋งมาก อดทนมาก ฉลาดปราดเปรื่อง ใจดี เราเขียนบทความของเค้าไปเรายังขนลุกไปเลยอ่ะ
ซาบซึ้งกับน้ำใจของเค้าที่มีต่อโลกใบนี้ อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เจ๋งแบบเค้าบ้างเลย
.
ในวาระสุดท้ายของคุณเรินต์เกน เพราะโดนรังสีจากการทำวัยเยอะ ก็เลยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งไป รังสีพวกนี้อันตรายใช่ย่อยนะจ๊ะ
ใครที่ต้องทำงานกับรังสีก็ขอให้ใส่เครื่องป้องกันและปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังกันน้าาา เป็นห่วง

Leave a Comment

#DEK71 เก่งได้ตั้งแต่ซัมเมอร์ ม.4 สมัครเรียนฟิสิกส์แบบ 2 เทอม (PACK DUO M4) รับเลย! ส่วนลดค่าเรียน >>>

X